ยาสมุนไพรรักษาโรคกษัยในตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 เปรียบเทียบกับตำรับในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช: การวิเคราะห์ทางเภสัชกรรมไทย

Main Article Content

ธรรมณพรรธ ดวงดี
กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์
กังวล คัชชิมา
สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมุนไพรและตำรับยาที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคกษัยในตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 เปรียบเทียบตำรับยาและสมุนไพรตามหลักเภสัช 4 ที่ใช้ในการรักษาโรคกษัยในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลศิริราช


วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาสมุนไพรและตำรับยาที่มีการรักษาโรคกษัยในตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 และในคลินิกอายุรเวทฯศิริราช ตรวจสอบความถูกต้องของ ชื่อสมุนไพรและรสยาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวนตำรับยาและสมุนไพรรักษาโรคกษัยในตำราการแพทย์ไทยเดิมฯ กับในคลินิกอายุรเวทฯ ตามหลักเภสัช 4 ค้นหาหลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกษัยในฐานข้อมูล PubMed และ Google scholar


ผลการศึกษา: เปรียบเทียบข้อมูลในคลินิกอายุรเวทศิริราชกับตำราการแพทย์ไทยเดิมฯ พบเภสัชวัตถุที่ใช้ตรงกัน 72 ชนิด รสยาที่ตรงกันมากสุดคือรสร้อน คณาเภสัชที่ตรงกันคือเทียนทั้งห้าและโกฐทั้งห้า เภสัชกรรมที่ใช้ตรงกันคือการต้มดื่ม หลักฐานเชิงประจักษ์ของสมุนไพรทั้ง 27 ชนิด พบว่ามีสมุนไพรเพียง 7 ชนิด ที่มีงานวิจัยสนับสนุนการรักษาโรคกษัย มีงานวิจัยทางคลินิกรองรับเพียง 4 ชนิด ได้แก่ ขิง ไพล สมอไทย และขมิ้นชัน งานวิจัยพรีคลินิก 3 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หญ้าหนวดแมว และกระชาย


สรุป: โรคกษัยมีการกล่าวถึงในหลายคัมภีร์ การรักษานิยมใช้ยาตำรับมากกว่าสมุนไพรเดี่ยว และจำนวนหลักฐานเชิงประจักษ์ของสมุนไพรที่ใช้ยังมีน้อย ดังนั้นการพัฒนายาไทยที่ใช้รักษาโรคกษัยยังต้องการการวิจัยอีกมากเพื่อให้เกิดการใช้อย่างสมเหตุสมผล และข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ยังสามารถนำไปใช้ในเวชปฏิบัติของการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะในการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคกษัย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

สิริกานต์ ภูโปร่ง, มนูญ ผิวทอง, ภูมิณภัทร์ แสงสุมาศ. ตัวอย่างการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ การแพทย์แผนไทย:กษัย. ใน. ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง, บรรณาธิการ. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2555. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2542.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่ม 1 ฉบับชำระ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2550.

นันทวัน ประทุมสุวรรณ,พรนัชชา เฮงกระโทก, กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, กังวล คัชชิมา,สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร.ยาสมุนไพรรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1: การวิเคราะห์ทางเภสัชกรรมไทยและหลักฐานเชิงประจักษ์.เวชบันทึกศิรราช.กรุงเทพ:คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2564.

ปิยาอร สีรูปหมอก, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, อุเทน วงศ์สถิตย์. การศึกษาวิเคราะห์ยาจากสมุนไพรแก้ไข้ในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์[วิทยานิพนธ์ปริญญาแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

ปณิดา แซ่เฮง, ขจี ปิลกศิริ, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, อุเทน วงศ์สถิตย์. การศึกษาเปรียบเทียบโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารในคัมภีร์แพทย์แผนไทยกับ ICD-10-TM และข้อมูลการวินิจฉัยโรคในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์[วิทยานิพนธ์ปริญญาแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราการเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์. 2559.

ณัชกร ล้ำเลิศกิจ, ปิยาอร สีรูปหมอก, นฤมล พูนไพบูลย์โรจน์และคณะ. เวชศาสตร์เชิงประจักษ์กับการประเมินหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์แผนไทย. ใน: ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง, บรรณาธิการ. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2554. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ศัพท์แพทย์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประชาชน; 2546.

Wu, Keng-Liang, et al. Effects of ginger on gastric emptying and motility in healthy humans. Eur J Gastroenterol Hepatol. 2008; 20.5: 436-440.

Black, Christopher D., et al. Ginger (Zingiber officinale) reduces muscle pain caused by eccentric exercise. J. Pain. 2010; 11.9: 894-903.

Ghayur, Muhammad Nabeel, and Anwarul Hassan Gilani. Pharmacological basis for the medicinal use of ginger in gastrointestinal disorders. Dig. Dis. Sci. 2005;50.10:1889-1897.

Yamahara, Johji, et al. Gastrointestinal motility enhancing effect of ginger and its active constituents. Chem. Pharm. Bull. 1990; 38.2: 430-431.

El-Ashmawy, Nahla E., et al. Gastroprotective effect of garlic in indomethacin induced gastric ulcer in rats. Nutrition. 2016;32.7-8:849-854.

Andarkhor, Pouran, et al. Effects of Terminalia chebula Retz. in treatment of hemorrhoids: A double–blind randomized placebo–controlled clinical trial. Eur. J. Integr. Med. 2019; 30: 100-935.

Mard, Seyyed Ali, et al. Spasmogenic activity of the seed of Terminalia chebula Retz. in rat small intestine: in vivo and in vitro studies. Malays J Med Sci. 2011;18.3:18.

Chongmelaxme, Bunchai, et al. Clinical effects of Zingiber cassumunar (Plai): A systematic review. Complement. Ther. Med. 2017;35:70-77.

Manimmanakorn, Nuttaset, et al. Effects of Zingiber cassumunar (Plai cream) in the treatment of delayed onset muscle soreness. J. Integr. Med. 2016;14.2:114-120.

Dhippayom, Teerapon, et al. Clinical effects of Thai herbal compress: a systematic review and meta-analysis. Evid.-based Complement. Altern. Med. 2015.

Sommanut Sirijarugul, et al. Efficacy and side effects of Curcuma longa and ranitidine in patients with uninvestigated dyspepsia. Silpakorn university 2007.

Adam, Y., et al. Diuretic properties of Orthosiphon stamineus Benth. J. Ethnopharmacol. 2009; 124: 154-158.

Arafat, O. M., et al. Studies on diuretic and hypouricemic effects of Orthosiphon stamineus methanol extracts in rats. J. Ethnopharmacol. 2008; 118.3: 354-360.

Sasrnito, Ediati. The effect of essential oil of temukunci (Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schlecht) on calcium kidney stone solubility in vitro. Maj. farm. Indones. 5.1994.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราการแพทย์ไทยเดิมฯ. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์. 2538.