แนวทางการพัฒนางานบริการ ด้านการแพทย์แผนไทย ณ หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

Main Article Content

ชัญทิชา ดรุณสวัสดิ์
วิภาวี จงกลดี
ณัฐกานต์ ฆารเลิศ
สุทธดา บุตรแก้ว
ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์
ศุภกิจ สุวรรณไตรย์
เอื้อมพร สุวรรณไตรย์
กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้พัฒนางานบริการดูแลรักษาผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในร่วมกับสหวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น จากประสบการณ์การปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทยประยุกต์ในหอผู้ป่วยพบว่าปัญหาในการปฏิบัติงานเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ มีภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมมากกว่าผู้ป่วยนอก โรคหรือภาวะความเจ็บป่วยบางกลุ่มในหอผู้ป่วยยังไม่มีแนวทางการรักษามาก่อนหรือไม่พบในคัมภีร์แพทย์แผนไทย นอกจากนี้พบปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสหวิชาชีพ ทำให้งานบริการการแพทย์แผนไทยมีแนวทางการปฏิบัติงานไม่ชัดเจน ส่งผลต่อประสิทธิผลการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย จากการที่สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ร่วมงานกับภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ณ หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยมีเป้าหมายดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมร่วมกับสหวิชาชีพ จึงพัฒนาแนวทางการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย มีขั้นตอนดังนี้ การจัดการองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน, การพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและขั้นตอนการปฏิบัติงาน, การนำร่องปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพ, การจัดอบรมทักษะและประเมินผลของแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการพัฒนาองค์ความรู้ให้ยั่งยืน ตามลำดับ ผลจากการดำเนินการพบว่า งานบริการแพทย์แผนไทยมีแนวทางเวชปฏิบัติที่มีมาตรฐาน แบบบันทึกข้อมูลและการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและไม่เกิดอุบัติการณ์จากการรักษา นอกจากนี้ยังส่งเสริมการสร้างงานวิจัยวิชาการของการแพทย์แผนไทยเพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์รวมถึงศึกษาดูงานของนักศึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์ แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ของโรงพยาบาลเครือข่าย สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ และร่วมพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศได้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯและโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2: การนวดพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554.

จิตต์สกุล ศกุนะสิงห์. ประสิทธิผลของการนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชา. วารสารโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2555;19(1):36-43.

Plakornkul V, Vannabhum M, Viravud Y, Roongruangchai J, Mutirangura P, Akarasereenont P, et al. The effects of the court-type Thai traditional massage on anatomical relations, blood flow, and skin temperature of the neck, shoulder, and arm. BMC complementary and alternative medicine. 2016;16(1):363.

Viravud Y, Apichartvorakit A, Mutirangura P, Plakornkul V, Roongruangchai J, Vannabhum M, et al. The anatomical study of the major signal points of the court-type Thai traditional massage on legs and their effects on blood flow and skin temperature. Journal of integrative medicine. 2017;15(2):142-50.

Damapong P., Damapong P., Eungpinichpong W., Kanchanakhan N., Putthapitak P. A randomized controlled trial on the effectiveness of court-type traditional Thai massage versus amitriptyline in patients with chronic tension-type headache. eCAM. 2015;2015:930175.

สร้อยศรี เอี่ยมพรชัย และคณะ. การนวดไทยเเบบราชสำนักร่วมกับการประคบด้วยสมุนไพร: ประสิทธิผลในการลดอาการปวดหลังระยะหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2552;7(2):181-188.

Juntakarn C, Prasartritha T, Petrakard P. The effectiveness of Thai massage and joint mobilization. Int J Ther Massage Bodywork. 2017;10(2):3-8.

ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ, วิชัย อึงพินิจพงศ์ และอุไรวรรณ ชัชวาลย์. ผลของการนวดไทยประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา: การศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557; 26(2):197.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยปละการแพทย์ทางเลือก ในคลินิกบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2559.

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2554. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554.

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยประยุกต์ กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2555. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

การวิเคราะห์หาสาเหตุราก [Internet]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/ N_qd/admin/news_files/49_72_1.pdf.

จิรายุ ชาติสุวรรณ, พรระวี เพียรผดุงรัชต์, อรุณพร อิฐรัตน์, ณภัทร พานิชการ. เปรียบเทียบประสิทธิผลการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทยต่อความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2560;3:356-64.

Thanitta Thanakiatpinyo, Supakij Suwannatrai, Ueamphon Suwannatrai, Phanitanong Khumkaew, Dokmai Wiwattamongkol, Manmas Vannabhum, et al. The efficacy of traditional Thai massage in decreasing spasticity for elderly stroke patients. Clinical Interventions in Aging. 2014;9:1311-9.

หลักการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (CPG) ของ รวกท. พ.ศ. 2559 [Internet]. 2016. Available from: https://www.thaipediatrics.org/?p=696.

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล. 2548;20(2):63-76.

วิภาวี จงกลดี, ชัญทิชา ดรุณสวัสดิ์, ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์, ศุภกิจ สุวรรณไตรย์, กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์. รายงานกลุ่มผู้ป่วย เรื่อง การศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสำนัก และประคบสมุนไพรร่วมกับการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เวชบันทึกศิริราช. 2565;15(1):5-11.