การศึกษาอิทธิพลของธาตุเจ้าเรือนตามธาตุกำเนิดกับโรคลมจับโปงแห้งเข่า

Main Article Content

ศลิตา ประชากิจ
อรรคเดช อ่อนสอาด
ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์
แม้นมาศ วรรณภูมิ
ศุภกิจ สุวรรณไตรย์
กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของธาตุเจ้าเรือนกำเนิดกับลักษณะอาการของโรคลมจับโปงแห้งเข่า


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษานำร่อง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ในอาสาสมัครจำนวน 60 คน ที่มีอาการปวดเข่ามาอย่างน้อย 6 เดือน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมจับโปงแห้งเข่า โดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี การศึกษาครั้งนี้ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลวันเดือนปีเกิด และลักษณะอาการของโรคลมจับโปงแห้งเข่า ประกอบด้วย ระดับความปวด (NRS) อุณหภูมิพื้นผิวของเข่า องศาของข้อเข่า แบบสอบถามประเมินอาการข้อเข่าเสื่อม (modified WOMAC) และ 30-second chair stand test


ผลการศึกษา: อาสาสมัครทั้งหมด จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มตามธาตุเจ้าเรือนกำเนิด ได้แก่ ธาตุดิน 12 คน ธาตุน้ำ 15 คน ธาตุลม 17 คน และธาตุไฟ 16 คน โดยพบว่าทั้ง 4 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของระดับความปวด อุณหภูมิบริเวณข้อเข่า ค่าองศาของข้อเข่า ผลการทดสอบ 30-second chair stand test และการประเมินลักษณะอาการปวดเข่า โดยใช้ modified WOMAC ในมิติต่าง ๆ ของโรคลมจับโปงแห้งเข่า


สรุป: การศึกษานี้พบว่าธาตุเจ้าเรือนกำเนิด ไม่มีผลต่อลักษณะอาการของโรคลมจับโปงแห้งเข่า แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทำให้เห็นแนวโน้มว่า อาสาสมัครมีธาตุกำเนิดเป็นธาตุลมมากที่สุด คือ 17 ราย โดยทั้งหมดมีอายุอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครในการศึกษา และศึกษาปัจจัยอื่นที่อาจมีอิทธิพลต่ออาการของโรคลมจับโปงแห้งเข่า ได้แก่ ฤดูกาล อายุ ช่วงเวลา ถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมต่าง ๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง. ตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1. กรุงเทพมหานคร. ศุภวนิชการพิมพ์; 2550.

ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง, ชัชภาม จันทบุตร, เทียมจิต ทองลือ, ประมวล คำแก้ว, ประสพพร พันธ์เพ็ง, และคณะ. การแพทย์แผนไทย ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

พิศณุประศาสตร์เวช, พระยาตำราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทย. ร.ศ.127.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท. หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเณศ พริ้น ติ้งเซ็นเตอร์, 2548.

ศุภกิจ สุวรรณไตรย์, ธเนศพล พันธ์เพ็ง, นันทิพัฒน์ คำแก้ว, ปิยาอร สีรูปหมอก, พัชรพล อุดมเกียรติ, อารีศักดิ์ โชติ วิจิตร, และคณะ. การเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมทางแพทย์แผนตะวันตกกับโรคลมจับโปงแห้งเข่าทาง แพทย์แผนไทย. เวชบันทึกศิริราช 2561;11(2),88-95.

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน ๒๕๕๕. กรุงเทพมหานคร: : ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม, ผ่องพิมล ดาศรี, ศุภกิจ สุวรรณไตรย์, สุวีรวรรณ ลิ้มสุวรรณ, เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์. การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกำเนิดกับลักษณะของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกอายุรเวท แพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช 2561;3:158-166.

Dobson F, Hinman RS, Roos EM, Abbott JH, Stratford P, Davis AM, et al. OARSI recommended performance-based tests to assess physical function in people diagnosed with hip or knee osteoarthritis. Osteoarthritis Cartilage. 2013;21(8):1042-52.