การวิเคราะห์โครงข่ายของสมุนไพรที่ใช้ ในการบำบัดโรคผิวหนังในคลินิกอายุรเวท การแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลศิริราช

Main Article Content

พนิตสุภา เชื้อชั่ง
ภัสส์พณัฐ หุตะแพทย์
ดอกไม้ วิวรรธมงคล
ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์
ณัชกร ล้ำเลิศกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรสยาสมุนไพร และสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง กับโรคผิวหนัง และ ศึกษาหาความสัมพันธ์ของสมุนไพรที่ถูกใช้ร่วมกัน ในการรักษาโรคผิวหนัง ของคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลศิริราช


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นตะโจพิการ (โรคผิวหนัง) ที่มีการรักษาด้วยยาสมุนไพร จากนั้นทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของรสยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา และโรคผิวหนังที่พบ โดยใช้การวิเคราะห์โครงข่ายความสัมพันธ์ (Network analysis) ในการวิเคราะห์ และวิเคราะห์หาสมุนไพรที่มีการใช้ร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ตะกร้าตลาด (Market basket analysis)


ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์โครงข่ายความสัมพันธ์ พบว่า จำนวนชนิดของสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาในโรคผิวหนัง ส่วนใหญ่จะมีรส ขม, ร้อน, และเมาเบื่อ พบสมุนไพรที่ใช้รักษาในทุกกลุ่มของโรคผิวหนัง ได้แก่ ข้าวเย็นเหนือ, ข้าวเย็นใต้, รากชะเอมเทศ, เกสรบัวหลวง, เทียนดำ, เทียนแดง, เทียนขาว, และ เทียนข้าวเปลือก และ จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสมุนไพรที่มักใช้ร่วมกันด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ตะกร้าตลาด เช่น ในโรคสิว มักจะใช้ใบส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.) DC., สารส้ม (Alum), ใบมะกา (Bridelia ovata Decne), ใบมะขาม (Tamarindus indica L.) และ ใบส้มเสี้ยว (Bauhinia malabarica Roxb.) โรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ เหงือกปลาหมอ (Acanthus ebracteatus Vahl.), ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz), ขันทองพยาบาท (Gelonium multiflorum A.Juss.), ขมิ้นเครือ (Fibraurea tinctoria Lour), ข้าวเย็นเหนือ (Smilax corbularia Kunth.), ข้าวเย็นใต้ (Smilax glabra Roxb.) เป็นต้น


สรุป: จากการศึกษาพบว่าโรคผิวหนังมักมีการใช้สมุนไพร รส ขม, ร้อน, และ เมาเบื่อ และพบสมุนไพรที่มีการใช้ในทุกกลุ่มโรคผิวหนัง รวมไปถึง สมุนไพรที่มักใช้ร่วมกันในแต่ละโรค ซึ่งอาจนำไปศึกษาพัฒนาต่อยอด เพื่อช่วยลดความซับซ้อนในการเลือกใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคผิวหนังได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.ตำราพื้นฐานวิชาชีพการแพทย์แผนไทย เล่ม ๑ ปรัชญาและพื้นฐานการแพทย์แผนไทย.สมุทรสาคร: พิมพ์ดี; 2561

พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556.2556 ราชกิจจานุเบกษา.หน้า 2.

โรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์) มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ. ตำราเภสัชกรรมไทย.กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์; 2548

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.ตำราการแพทย์ไทยเดิม(แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ ๑ ฉบับชำระ พ.ศ.๒๕๕๐. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ICD-10-TM บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการ และหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558

ดร.เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคดาต้า ไมน์นิง เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์จำกัด; 2557 ลบ

Xia P, Gao K, Xie J, Sun W, Shi M, Li W, Zhao J, Yan J, Liu Q, Zheng M, Wang X. Data mining-based analysis of Chinese medicinal herb formulae in chronic kidney disease treatment. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2020 Jan 25;2020. ลบ

Yang DH, Kang JH, Park YB, Park YJ, Oh HS, Kim SB. Association rule mining and network analysis in oriental medicine. PLOS one. 2013 Mar 15;8(3):e59241. ลบ

Reanmongkol W, Itharat A, Bouking P. Evaluation of the anti-inflammatory, antinociceptive and antipyretic activities of the extracts from Smilax corbularia Kunth rhizomes in mice and rats (in vivo). Evaluation. 2007 Mar;29(1):59-67

Wu H, Wang Y, Zhang B, Li YL, Ren ZX, Huang JJ, Zhang ZQ, Lin ZJ, Zhang XM. Smilax glabra Roxb.: A Review of Its Traditional Usages, Phytochemical Constituents, Pharmacological Properties, and Clinical Applications. Drug Design, Development and Therapy. 2022 Jan 1:3621-43.

Na Takuathung M, Wongnoppavich A, Pitchakarn P, Panthong A, Khonsung P, Chiranthanut N, Soonthornchareonnon N, Sireeratawong S. Effects of wannachawee recipe with antipsoriatic activity on suppressing inflammatory cytokine production in hacat human keratinocytes. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2017 Oct;2017.

Mukherjee PK, Mukherjee D, Maji AK, Rai S, Heinrich M. The sacred lotus (Nelumbo nucifera)–phytochemical and therapeutic profile. Journal of Pharmacy and Pharmacology. 2009 Apr;61(4):407-22.

Manohar D, Viswanatha GL, Nagesh S, Jain V, Shivaprasad HN. Ethnopharmacology of Lepidium sativum Linn (Brassicaceae): a review. Int J Phytother Res. 2012;2(1):1-7.

Ahmad A, Husain A, Mujeeb M, Khan SA, Najmi AK, Siddique NA, Damanhouri ZA, Anwar F. A review on therapeutic potential of Nigella sativa: A miracle herb. Asian Pacific journal of tropical biomedicine. 2013 May 1;3(5):337-52.