การศึกษาเปรียบเทียบตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคลมในตำราพระโอสถพระนารายณ์กับยาที่ใช้ในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลศิริราช

Main Article Content

กนกวรรณ กิ่งทอง
ณัชกร ล้ำเลิศกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์
สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร
กังวล คัชชิมา
สุภาวดี ตั้งจิตรเจริญ
ธเนศพล พันธ์เพ็ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบตำรับยาและยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคลมในตำราพระโอสถพระนารายณ์ (ตำราฯ) กับการใช้ในปัจจุบัน และรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการสรรพคุณรักษาโรคลมของยาสมุนไพร


วิธีการศึกษา: บันทึกตัวยาที่ใช้รักษาโรคลมในตำราฯ และที่ใช้ในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาล
ศิริราช (คลินิกฯ) ช่วงพ.ศ. 2558-2562 จากนั้นทำการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลตามหลักเภสัชกรรมไทย แล้วสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ของตัวยาสมุนไพรที่มีความสำคัญในฐานข้อมูล PubMed Scopus ScienceDirect และGoogle Scholar


ผลการศึกษา: ตำรับยาที่ใช้รักษาโรคลมจากตำราฯ และคลินิกฯ มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม รสประธานของตำรับมีการใช้เหมือนกัน คือ รสร้อน สำหรับรสยาของตัวยาเดี่ยว พบว่ามีการใช้ตัวยารสเผ็ดร้อนมากที่สุดเหมือนกันอีกด้วย ทั้งสองแหล่งมีการใช้ตัวยาสมุนไพรเหมือนกัน 53 ชนิด จัดเป็นพืชวัตถุ 50 ชนิด และธาตุวัตถุ 3 ชนิด โดยสมุนไพรที่ใช้บ่อยตรงกันมี 5 ชนิด คือ เจตมูลเพลิงแดง, ดีปลี, เทียนดำ, พริกไทยดำ และเทียนขาว ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสรรพคุณรักษาโรคลมของตัวยาเหล่านี้ ได้แก่ ฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิตสูง และต้านชัก


สรุป: ถึงแม้ว่าคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ รพ.ศิริราช จะไม่ได้ใช้ยาในตำราพระโอสถพระนารายณ์ในการรักษาโรคลม แต่พบว่าหลักการใช้ยารสร้อนเพื่อรักษาโรคกลุ่มนี้มีความสอดคล้องกัน พบว่ามีตัวยาสมุนไพร 5 ชนิดที่มีความสำคัญในการรักษาโรคลม จากการขาดแคลนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นว่ายังคงมีความต้องการงานวิจัยเกี่ยวกับตัวยารักษาโรคลม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถาบันการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/

ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง, ธานี เทพวัลย์. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน ๒๕๕๕. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราช 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.

ชวน ศรสงคราม. ตำราพระโอสถพระนารายณ์. พระนคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ 112 ถนนบริพัตร; 2508.

เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ; 2522.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราการเภสัชกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อุษาการพิมพ์; 2559.

ธเนศพล พันธ์เพ็ง. การปรุงยาสมุนไพรตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย 28 วิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Lumlerdkij N, Mamak C, Duangdamrong J, Phayakkhawisai T, Trakoolsilp B, Jamparngernthaweesri K, et al. Evaluation of Evidence Related to Medical Uses and Health Claims of Fingerroot. Siriraj Medical Bulletin. 2021;14(2):61-72.

Paul S, Saha D. Analgesic activity of methanol extract of Plumbago indica (L.) by acetic acid induced writhing method. Asian Journal of Pharmacy and Technology. 2012;2(2):74-6.

Ittiyavirah S, Jobin K, Jissa M, Jomy M, Josmi T, Littin B. ANTI-INFLAMMATORY AND ANALGESIC ACTIVITIES OF PLUMBAGO CAPENSIS AND PLUMBAGO INDICA. Advances in Pharmacology & Toxicology. 2012;13(1).

Sireeratawong S, Itharat A, Lerdvuthisopon N, Piyabhan P, Khonsung P, Boonraeng S, et al. Anti-Inflammatory, Analgesic, and Antipyretic Activities of the Ethanol Extract of Piper interruptum Opiz. and Piper chaba Linn. International Scholarly Research Notices. 2012;2012.

Mohtashami R, Huseini HF, Heydari M, Amini M, Sadeqhi Z, Ghaznavi H, et al. Efficacy and safety of honey based formulation of Nigella sativa seed oil in functional dyspepsia: A double blind randomized controlled clinical trial. Journal of ethnopharmacology. 2015;175:147-52.

Enayatfard L, Mohebbati R, Niazmand S, Hosseini M, Shafei MN. The standardized extract of Nigella sativa and its major ingredient, thymoquinone, ameliorates angiotensin II-induced hypertension in rats. Journal of basic and clinical physiology and pharmacology. 2019;30(1):51-8.

Fallah Huseini H, Amini M, Mohtashami R, Ghamarchehre M, Sadeqhi Z, Kianbakht S, et al. Blood pressure lowering effect of Nigella sativa L. seed oil in healthy volunteers: A randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial. Phytotherapy Research. 2013;27(12):1849-53.

Tuna HI, Babadag B, Ozkaraman A, Alparslan GB. Investigation of the effect of black cumin oil on pain in osteoarthritis geriatric individuals. Complementary therapies in clinical practice. 2018;31:290-4.

Islam MH, Ahmad IZ, Salman MT. In vivo Evaluation of Anti-inflammatory and Analgesic activities of Nigella sativa seed during germination. Int J Pharm Pharm Sci. 2013;5(4):451-4.

Bukhari I, Alhumayyd M, Mahesar A, Gilani A. The analgesic and anticonvulsant effects of piperine in mice. Journal of Physiology and Pharmacology. 2013;64(6):789.

Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine. 2014;7:S461-S8.

Costa R, Machado J, Abreu C. Evaluation of analgesic properties of piper nigrum essential oil: a randomized, double-blind, placebo-controlled study. World Journal of Traditional Chinese Medicine. 2016;2(2):60.

Ebihara T, Ebihara S, Maruyama M, Kobayashi M, Itou A, Arai H, et al. A randomized trial of olfactory stimulation using black pepper oil in older people with swallowing dysfunction. Journal of the American Geriatrics Society. 2006;54(9):1401-6.

Bhat SP, Rizvi W, Kumar A. Effect of Cuminum cyminum L. seed extracts on pain and inflammation. Journal of Natural Remedies. 2014;14(2):186-92.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการและหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย. นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศสํานกงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แก้ไขทะเบียนตํารับยาที่มีไคร้เครือเป็นส่วนประกอบ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/049/55.PDF.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง พืชอนุรักษ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ24 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2021/07/ประกาศพืชอนุรักษ์-2564.pdf.