การพัฒนาแบบบันทึกลักษณะของน้ำนมแม่ เพื่อจำแนกประเภทตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

Main Article Content

รุ่งทิพย์ หวังสมบูรณ์ศิริ
สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์
โสภาพรรณ เงินฉ่ำ
พินภัทร ไตรภัทร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบบันทึกลักษณะของน้ำนมแม่สำหรับใช้จำแนกประเภทตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย


วิธีการศึกษา: ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมเนื้อหาจากตำราและคัมภีร์ มาสรุปและจัดทำเป็นแบบบันทึก ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ 5 ท่าน และนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเนื้อหาของข้อคำตอบ (Index of item objective congruence: IOC) นำหัวข้อที่มีค่า IOC <0.5 มาปรับปรุง และตรวจสอบซ้ำโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านเดิม เมื่อทุกหัวข้อมีค่า IOC >0.5 จึงให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดลองใช้กับน้ำนมแม่ 25 ตัวอย่าง สรุปประเภทของน้ำนมแม่ตามความเห็นที่ตรงกันอย่างน้อย 2 ใน 3 และทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยโปรแกรม SPSS statistics 18.0 คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intraclass correlation coefficient: ICC)


ผลการศึกษา: แบบบันทึกลักษณะของน้ำนมแม่ฉบับแรกที่อ้างอิงเนื้อหาจากคัมภีร์ มีทั้งหมด 7 หัวข้อ หลังจากการปรับปรุงเพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและตรวจสอบซ้ำจนได้ค่า IOC 0.8-1.0 ทุกข้อ ทำให้ได้แบบบันทึกฉบับปรับปรุงที่มี 6 หัวข้อ ได้แก่ สีของน้ำนม กลิ่นของน้ำนม ลักษณะความข้น ลักษณะน้ำนมในภาชนะทดสอบ รสของน้ำนม และสรุปประเภทของน้ำนม เมื่อผู้เชี่ยวชาญใช้แบบบันทึกประเมินประเภทน้ำนมแม่ โดยใช้เกณฑ์ความเห็นที่ตรงกันอย่างน้อย 2 ใน 3 ของผู้เชี่ยวชาญ พบว่าสามารถสรุปประเภทของน้ำนมได้ครบทุกตัวอย่าง และมีค่าความเชื่อมั่นในการประเมินคะแนนน้ำนมเอก น้ำนมโท และน้ำนมโทษ เท่ากับ 0.70, 0.75 และ 0.84 ตามลำดับ


สรุป: แบบบันทึกลักษณะของน้ำนมแม่ที่พัฒนาขึ้นฉบับนี้ เป็นแบบบันทึกต้นแบบ ซึ่งผ่านการทดสอบค่าความเที่ยงตรง (Content Validity) มีค่า IOC เท่ากับ 0.8-1.0 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) น้ำนมเอก เท่ากับ 0.70 น้ำนมโท เท่ากับ 0.75 และน้ำนมโทษเท่ากับ 0.84 ดังนั้น แบบบันทึกดังกล่าว สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกประเภทของน้ำนมแม่ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้ในเบื้องต้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยเพื่อให้การรักษาและเก็บรวบรวมวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบหรือประเมินคุณภาพของน้ำนมแม่ในงานวิจัยทางคลินิกในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2555. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ ๑ ฉบับชำระ พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 1992.

Van Sadelhoff JH, Mastorakou D, Weenen H, Stahl B, Garssen J, Hartog A. Differences in levels of free amino acids and total protein in human foremilk and hindmilk. Nutrients. 2018;10(12):1828.

Wu K, Zhu J, Zhou L, Shen L, Mao Y, Zhao Y, et al. Lactational changes of fatty acids and fat-soluble antioxidants in human milk from healthy Chinese mothers. Br J Nutr. 2020;123(8):841-8.

สุธาทิพย์ มหาเจริญสิริ. การพัฒนาแบบประเมินเพื่อการวินิจฉัยธาตุเจ้าเรือนปกติลักษณะ ทางการแพทย์แผนไทย. Siriraj Med J. 2017;10(2):65-73.

Davis AE. Instrument development: getting started. J Neurosci Nurs. 1996;28(3):204-8.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Laboratory of Psychometric and Evaluative Research Report No.24. Proceedings of the 60th Annual Meeting of the American Educational Research Association; 1976 Apr 19-23; San Francisco, California. Massachusetts: The University of Massachusetts; 1976.

Koo TK, Li MY. A guideline of selecting and reporting intraclass correlation coefficients for reliability research. J Chiropr Med. 2016;15(2):155-63.