การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ของการนวดไทยในการดูแลสุขภาพ

Main Article Content

เกษมณี จงเจียมดี
ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์
สุกรี กาเดร์
เธียรธรรม อภิจรรยาธรรม
นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์
เอื้อมพร สุวรรณไตรย์
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

การนวดไทยเป็นองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ คือ การนวดไทยแบบราชสำนัก การนวดไทยแบบทั่วไป และการนวดไทยพื้นบ้าน ซึ่งมีการนำไปใช้ในเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและการสร้างเสริมสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย จากการสืบค้นโดยใช้คำค้นเกี่ยวกับการนวดไทย ระหว่างพ.ศ. 2552-2565 จากฐานข้อมูล PubMed และ Google Scholar พบงานวิจัยระดับคลินิกของการนวดไทยแบบราชสำนัก และการนวดไทยแบบทั่วไป จำนวน 24 และ 111 เรื่องตามลำดับ โดยงานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการศึกษาผลการนวดไทยต่อการลดอาการปวด การคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ด้านจิตใจและความเครียด จากการประเมินระดับหลักฐานเชิงประจักษ์และคำแนะนำตามหลัก OCEBM พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม จัดระดับหลักฐานอยู่ในระดับ 2-3 ซึ่งอยู่ในคำแนะนำระดับ B จึงสรุปได้ว่าการนวดไทยแบบราชสำนัก และการนวดไทยแบบทั่วไปสามารถนำไปใช้ในการทำเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย และแนะนำให้ผู้ที่สนใจมารับบริการได้ ในขณะที่การนวดไทยพื้นบ้านมีการใช้ตามองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือตามประสบการณ์ แต่ยังขาดข้อมูลด้านงานวิจัย

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

สภาการแพทย์แผนไทย. ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 162 ง (ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563).

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย. คู่มือประกอบการรับรองหมอพื้นบ้าน ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562 (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอ็นเอส ครีเอชั่น; 2564.

OCEBM Levels of Evidence Working Group. The Oxford 2011 Levels of Evidence [Internet].2016 [cited 2023 January 7]. Available from: https://www.cebm.ox.ac.uk/resources/levels-of-evidence/ocebm-levels-of-evidence.

ณัชกร ล้ำเลิศกิจ, นฤมล พููนไพบููลย์โรจน์, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์. เวชศาสตร์เชิงประจักษ์กับการแพทย์แผนไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. พ.ศ. 2554;9(2):94-9.

Lumlerdkij N., Mamak C., Duangdamrong J., Phayakkhawisai T., Trakoolsilp B., Jamparngernthaweesri K., & Akarasereenont P. การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ของกระชายขาวกับการใช้ทางการแพทย์และการกล่าวอ้างทาง สุขภาพ. Siriraj Medical Bulletin, 14(2), 61-72.

Damapong P., Damapong P., Eungpinichpong W., Kanchanakhan N., Putthapitak P. A Randomized Controlled Trial on the Effectiveness of Court-Type Traditional Thai Massage versus Amitriptyline in Patients with Chronic Tension-Type Headache. eCAM. 2015;2015:930175.

สร้อยศรี เอี่ยมพรชัย และคณะ. การนวดไทยเเบบราชสำนักร่วมกับการประคบด้วยสมุนไพร: ประสิทธิผลในการลดอาการปวดหลังระยะหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.2552;7(2):181-188.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ พี.เอส.เพรส; 2559.

จิตต์สกุล ศกุนะสิงห์. ประสิทธิผลของการนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชา. วารสารโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2555;19(1):36-43.

Plakornkul V, Vannabhum M, Viravud Y, Roongruangchai J, Mutirangura P, Akarasereenont P, et al. The effects of the court-type Thai traditional massage on anatomical relations, blood flow, and skin temperature of the neck, shoulder, and arm. BMC complementary and alternative medicine. 2016;16(1):363.

Viravud Y, Apichartvorakit A, Mutirangura P, Plakornkul V, Roongruangchai J, Vannabhum M, et al. The anatomical study of the major signal points of the court-type Thai traditional massage on legs and their effects on blood flow and skin temperature. Journal of integrative medicine. 2017;15(2):142-50.

Siripohn P, Visavajarn P, Suwannatrai U, Suwannatrai S, Butdapan P, Ruangchainikom M. The Effects of the Thai Traditional Medicine of Abdominal Massage on Defecation in Post Lumbar Laminectomy Patients. Siriraj Medical Journal. 2019;71(3):214-9.

Ongart Sinsomboon, Patranuch Noppakulsatit, Adis Tassanarong, Parunkul Tungsukruthai, Kusuma Sriyakul. A comparison of effectiveness of Thai traditional massage and Tamsulosin in lower urinary tract symptoms: A randomized controlled trial. Journal of evidence-based integrative medicine. 2021; 27: 1-8.

จิรภรณ์ แนวบุตร, บุรณี กาญจนถวัลย์. ผลการนวดไทยต่อระดับความวิตกกังวลความซึมเศร้าและอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร.2557;3(60): 314-327.

Phattarasuda Klungsri, Daruj Aniwattanapong. Effect of Thai traditional massage for reduction of depression in Social Welfare Development Center for Older Persons. Chula Med Bull.2019;1(2): 135-146.

Pariyapat Singthong, Warinee Sangprapai, Wimonrat Phaphewdee, Peeranai Sriwong. Immediate results from basic royal massage with the herbal compression heart rate variability in stressful volunteers. Journal of Traditional Thai Medical Research. 2018; 4(2): 28-38.

Chantip Juntakarn, Thavat Prasartritha, Prapoj Petrakard. The effectiveness of Thai massage and joint mobilization. International journal of therapeutic massage & bodywork. 2017; 10(2): 3-8.

Orapin Laosee, Netchanok Sritoomma, Phanida Wamontree, Cheerawit Rattanapan, Chitr Sitthi-Amorn. The effectiveness of traditional Thai massage versus massage with herbal compress among elderly patients with low back pain: A randomised controlled trial. Complementary therapies in medicine. 2020; 48:102253.

Ketsarakon Oatyimprai, Wichai Eungpinichpong, Orawan Buranruk, Kurusart Konharn, Kukiat Tudpor. Effect of traditional Thai massage on muscle oxygen saturation in low back pain patients: A preliminary study. International Journal of GEOMATE. 2020; 19(72): 54-61.

Thanarat Sripongngam, Wichai Eungpinichpong, Jaturat Kanpittaya, Kamonwan Tangvoraphonkchai. Immediate effects of foot massage on renal blood flow in healthy persons: A pre-experimental one-group pretest-posttest study. Thai Journal of Physical Therapy. 2013; 35(3): 141-7.

Surussawadi Bennett, Michael John Bennett, Uraiwon Chatchawan, Patcharaporn Jenjaiwit, Rungthip Pantumethakul, et al. Acute effects of traditional Thai massage on cortisol levels, arterial blood pressure and stress perception in academic stress condition: A single blind randomized controlled trial. Journal of Bodywork & Movement Therapies. 2016; 20(2): 286-92.

Alasdair MacSween, Susan Lorrimer, Paul van Schaik, Marie Holmes, Anna van Wersch. A randomised crossover trial comparing Thai and Swedish massage for fatigue and depleted energy. Journal of Bodywork & Movement Therapies. 2018; 22(3): 817-28.