การประเมินคุณภาพและความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองกระดูกสะบ้าแตกสำหรับการฝึกหัตถการ Tension Band Wiring

Main Article Content

มยุรี พวงกำหยาด
สมชาย จงพิพัฒน์ชัยพร
ดิเรก ตันติเกต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อประเมินคุณภาพและความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองกระดูกสะบ้าแตกสำหรับใช้ในการเรียนการสอนหัตถการ Tension band wiring


วิธีการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้น ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามการประเมินคุณภาพและความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองกระดูกสะบ้าแตก กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 36 คน เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาออร์โธปิดิกส์ ที่มีประสบการณ์สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี แพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โธปิดิกส์ ชั้นปีที่ 4 แพทย์เฟลโลว์ และแพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โธปิดิกส์ต่างสถาบัน หลังจากทำหัตถการ tension band wiring กับหุ่นจำลองกระดูกสะบ้าแตก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา: จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 36 คน ประกอบด้วย อาจารย์แพทย์จำนวน 9 คน และแพทย์ฝึกอบรมจำนวน 27 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มอาจารย์แพทย์ให้ความเห็นด้านภาพรวมของหุ่นจำลองมีความเสมือนจริงในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.67, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และกลุ่มแพทย์ฝึกอบรม ให้ความเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.78, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58) กลุ่มอาจารย์แพทย์ให้ความเห็นด้านภาพรวมของความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองเหมาะสมต่อการเรียนรู้ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และกลุ่มแพทย์ฝึกอบรม ให้ความเห็นในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70)


สรุป: หุ่นจำลองกระดูกสะบ้าแตกที่ได้มีการพัฒนาขึ้นสำหรับการเรียนการสอนหัตถการ tension band wiring สำหรับแพทย์ประจำบ้าน สาขาออร์โธปิดิกส์ มีความเสมือนจริง และเป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหัตถการ tension band wiring อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นในการพัฒนาวัสดุสำหรับผลิตส่วนของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มณีรัตน์ ภัทรจินดา, ประสิทธิ์ เรืองเทพ และวัณณลภ โกวิท. การพัฒนาหุ่นฝีเย็บจำลองสำหรับ ฝึกเย็บแผลฝีเย็บ. โครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.

ยุทธนา คณาสุข, ณัฐวุฒิ ศาสตรวาหา, สุรพล อธิประยูร, วรสัณห์ ทวีวุฒิทรัพย์ และปุณยธร พัฒนธิติกานต์. ความมั่นใจในการทำหัตถการออร์โธปิดิกส์หลังจบการศึกษา ของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร, 2559;2:3-9.

วัณณลภ โกวิท. การผลิตหุ่นจำลองและสิ่งเลียนแบบทางการแพทย์. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 หมวดพิพิธภัณฑ์ หน่วยโสตทัศนศึกษา งานบริการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

วาสนา ชาวหา. สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, 2533.

ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. ความมั่นใจและความถูกต้องของนักศึกษาแพทย์ในการใส่ท่อช่วยหายใจและการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2556;3:137-143.

สุวีณา เบาะเปลี่ยน, อริสรา อยู่รุ่ง, แอน ไทยอุดม, เนตรดาว ชัชวาลย์ และชยุตรา สุทธิลักษณ์. การพัฒนาหุ่นฝึกทักษะการดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจและท่อหลอดลมคอ: นวัตกรรมการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;3:62-70.