การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวกในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีส่วนร่วมและมีความหมาย

Main Article Content

วุฒิภัทร เอี่ยมมีชัย

บทคัดย่อ

หลักจิตวิทยาเชิงบวกสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน generation Z ซึ่งมีความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองมีส่วนร่วมและมีการปฏิสัมพันธ์ แม้ว่าการบรรยายแบบดั้งเดิม (traditional lecture) ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นการบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ (interactive lecture) แต่ในประเทศไทยมักใช้การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์โดยการตอบคำถามผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-voting) เป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจยังไม่สามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้หลักการจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น หลักจิตวิทยาเชิงบวกมุ่งเน้นที่การศึกษาการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยหลักการ PERMA model of well-being ที่อธิบายถึงองค์ประกอบ 5 ด้านที่ทำให้มนุษย์มีสุขภาวะที่ดี ได้แก่ อารมณ์เชิงบวก (positive emotions) การมีส่วนร่วม (engagement) การมีความสัมพันธ์ (relationship) การมีความหมาย (meaning) และความสำเร็จ (accomplishment) อาจารย์ผู้สอนสามารถนำหลักการ PERMA model นี้มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบโดยใช้หลักการนี้พัฒนาแผนการสอนในกิจกรรมนั้นๆ ผู้นิพนธ์ได้อภิปรายการนำหลักการ PERMA model of well-being มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ (interactive lecture) ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวน 318 คน โดยปรับกิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อภิปรายสถานการณ์ตัวอย่างและฝึกปฏิบัติการตรวจสภาพจิตกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน จากการสังเกตของผู้นิพนธ์ซึ่งเป็นผู้สอนในกิจกรรม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับผลจากการประเมินกิจกรรมเบื้องต้นที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับกิจกรรม ข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้หลักการ PERMA model คือ ต้องมีการวางแผนการเรียนรู้ล่วงหน้า การเลือกสื่อให้สอดคล้องกับความสนใจผู้เรียนอาจต้องใช้เวลานาน และควรควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม ดังนั้นการประยุกต์ใช้หลักการจิตวิทยาเชิงบวกในการจัดกิจกรรมภาคบรรยายสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ควรการทำการศึกษาวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นมาตรฐานต่อไป

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

Eckleberry-Hunt J, Lick D, Hunt R. Is medical education ready for generation Z? Journal of Graduate Medical Education. 2018;10(4):378–81. doi:10.4300/jgme-d-18-00466.1

Rutgers, The State University of New Jersey. Interactive lecture strategies [Internet]. [cited 2023 Oct 22]. Available from: https://dcs.rutgers.edu/active-learning/teaching-tools/interactive-lecture-strategies Kern ML, Wehmeyer ML. The Palgrave Handbook of Positive Education. Springer International Publishing; 2021.

Bruff D. Lecturing [Internet]. Vanderbilt University; 1970 [cited 2023 Oct 22]. Available from: https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/lecturing/

PERMATM theory of well-being and PERMATM workshops [Internet]. [cited 2023 Jul 25]. Available from: https://ppc.sas.upenn.edu/learn-more/perma-theory-well-being-and-perma-workshops

พนม เกตุมาน, สุรวิทย์ อัสสพันธุ์. จิตวิทยาเชิงบวกและการเรียนรู้ (Positive Psychology in Learning). ใน:กิตติรรัตน์ ปลื้มจิตร, บรรณาธิการ. ก่อการครู การเรียนรู้เปี่ยมพลัง:12 นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อครูหัวใจใหม่. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565:137-75.

Positive psychology in the classroom [Internet]. 2021 [cited 2023 Jul 25]. Available from: https://www.teachingexpertise.com/articles/positive-psychology-in-the-classroom/

Lou J, Xu Q. The development of Positive Education combined with online learning: Based on theories and practices. Frontiers in Psychology. 2022;13. doi:10.3389/fpsyg.2022.952784