ปัจจัยทํานายการปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง

Main Article Content

วิชุดา ครุธทอง

Abstract

การวิจัยเชิงสํารวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุที่เริ่มมีภาวะสายตาเลือนราง ระยะเวลาที่มีภาวะสายตาเลือนราง จํานวนปัญหาในการมองเห็น การสนับสนุนทางสังคม กับการปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาเลือนราง มารับบริการในคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็น ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อายุ 21-60 ปี จํานวน 129 คน คํานวณจํานวนกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power 3.1.7 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และ ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอยเชิงเส้นเชิงเดียว ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะการมองเห็น ได้แก่ อายุที่เริ่มมีภาวะสายตาเลือนรางระยะเวลาที่มีภาวะสายตาเลือนรางและจํานวนปัญหาในการมองเห็นไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง แต่ปัจจัยทางสังคม คือการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนรางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.412, p < 0.01) เมื่อใช้สมการถดถอยเชิงเส้นเชิงเดียว สร้างสมการทํานายการปรับตัวดังนี้การปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง = 5.554 + 0.142 (การสนับสนุนทางสังคม) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทํา นายร้อยละ17.0

Article Details

How to Cite
1.
ครุธทอง ว. ปัจจัยทํานายการปรับตัวของผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Mar. 29 [cited 2024 Dec. 23];9(1):10-6. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81410
Section
Original Article