อัตราการสั่งยาซ้ำซ้อนของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช
Main Article Content
Abstract
การรับประทานยาซ้ำซ้อนคือการที่ผู้ป่วยได้รับยาที่มีชื่อสามัญทางยาเหมือนกันหรือได้รับยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกันซึ่ง จัดเป็นความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาหรือเกิดอันตรายแก่ชีวิตผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อหาอัตราการสั่งยาซ้ำซ้อนที่มีชื่อสามัญทางยาเหมือนกันหรือมีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกันโดยที่แพทย์ไม่ได้ตั้งใจหรือหวังผลทางการรักษา 2) นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาหลักเกณฑ์การดักจับยาซ้ำซ้อนในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลศิริราชต่อไป
วิธีการ: ใช้การวิเคราะห์ใบสั่งยาผู้ป่วยนอกที่พบปัญหาทางด้านยาระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 กรกฎาคม 2558 จำนวน 16,224 ใบเพื่อค้นหาปัญหาการสั่งยาซ้ำซ้อนและนำข้อมูลที่ได้มาจัดกลุ่มตามรูปแบบของการสั่งซ้ำและกลไกการออกฤทธิ์ของยา
ผลการศึกษา: พบว่ามีอุบัติการณ์การสั่งยาซ้ำซ้อนเกิดขึ้นจำนวน 171 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และรับยาจากหน่วยตรวจโรคของภาควิชาอายุรศาสตร์เป็นหลัก ร้อยละ 65.5 และ 66.1 ตามลำดับ ใบสั่งยาที่พบปัญหาการสั่งยา ซ้ำซ้อนมีจำนวนรายการยาเฉลี่ยเท่ากับ 7.8 รายการต่อใบ ซึ่งมากกว่าจำนวนรายการยาเฉลี่ยของใบสั่งยาทั่วไปจากหน่วยตรวจโรค ของภาควิชาอายุรศาสตร์ 1.7 เท่า ปัญหาการสั่งยาซ้ำซ้อนที่พบแบ่งเป็นการสั่งยาที่มีชื่อสามัญทางยาเหมือนกันร้อยละ 70.8 และ สั่งยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกันแต่ชื่อสามัญทางยาต่างกัน ร้อยละ 29.2 โดยยาลดไขมันกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitors และโรคระบบทางเดินอาหารกลุ่ม Proton pump inhibitors เป็นกลุ่มยาที่พบปัญหาการสั่งยาซ้ำซ้อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.9 และ 8.2ตามลำดับ
สรุป: พบว่ากลุ่มยาที่พบการสั่งซ้ำซ้อนมากที่สุดคือ ยาลดไขมันกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitors และยาโรคระบบทาง เดินอาหารกลุ่ม Proton pump inhibitors ทำให้สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาหลักเกณฑ์การแจ้งเตือนในระบบคอมพิวเตอร์ของ โรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับยาซ้ำซ้อนและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยต่อไป