ความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล ต่อคุณลักษณะบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ประนอม พรมแดง

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล ต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ของโรงเรียนผู้ช่วย พยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล ที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2556 จำนวน 130 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการให้บริการของอาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาต่อการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด

ผลการศึกษา: ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 91.5 มีอายุอยู่ในช่วง 19-21 ปี คิดเป็นร้อยละ 68.1 มีระดับเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01-3.50 มากที่สุดร้อยละ 53.12 มาพบอาจารย์ที่ปรึกษาเมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเรียกพบร้อยละ 41.1 จะมาพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นบางครั้งที่มีปัญหาร้อยละ 20.5 ตามลำดับ จำนวนครั้งที่นักศึกษามาพบอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุดคือ 10 ครั้งใน 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 40.4 ความพึงพอใจคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.69 S.D.= 0.31) ความพึงพอใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.46 S.D.= 0.48) ปัญหาการให้บริการของอาจารย์ที่ปรึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x=2.02 S.D. = 0.76) ส่วนรายด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง (x=2.42 S.D. = 0.96) คือ เวลาว่างของอาจารย์และนักศึกษาไม่ตรงกัน และอาจารย์มีนักศึกษาในความดูแลจำนวนมาก ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาต่อการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา คือ นักศึกษาต้องการให้อาจารย์มีความเป็นกันเองกับนักศึกษาจะทำ ให้นักศึกษากล้ามาปรึกษาปัญหา ควรอธิบายหรือให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมาไม่ข้ามประเด็น ฟังและเข้าใจปัญหาของนักศึกษาอยากปรึกษากับอาจารย์เป็นการส่วนตัวมากกว่าพบเป็นรายกลุ่ม อาจารย์ที่ปรึกษาควรปกปิดความลับของนักศึกษา ไม่พูดหรือบอกกับนักศึกษาคนอื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง

สรุป: โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล ควรมีการจัดทำ คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับอาจารย์ใหม่ ๆ ซึ่งต้องเข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งมีการประชุมชี้แจงให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทราบถึงความ ต้องการของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาจะได้รับทราบซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดีขึ้นและตรง กับความต้องการของนักศึกษา และควรมีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารในการนัดหมายระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (line, Facebook) หรือตารางช่องทางการนัดหมายกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนล่วงหน้า

Article Details

How to Cite
1.
พรมแดง ป. ความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล ต่อคุณลักษณะบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Mar. 30 [cited 2024 Dec. 21];8(1):1-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81489
Section
Original Article