ประสิทธิภาพในการนัดหมายนอกหน่วยตรวจของผู้ป่วยทูเมอร์คลินิก

Main Article Content

สมศรี รัตนวิจิตราศิลป์

Abstract

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการในการให้บริการผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในทูเมอร์คลินิกเพื่อเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมที่สุดรวมทั้งส่งผลดีต่อทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ในทูเมอร์คลินิกด้วย

วิธีการศึกษา: การวิจัยสำหรับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement) ในการให้บริการ โดยการเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยได้ทำการนัดหมายภายในวันเดียวกันกับที่เข้ารับบริการในทูเมอร์คลินิกจาก ๒ วิธีการ ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ ผู้ป่วยที่ใช้บัตรบอกสถานที่เพียงอย่างเดียว (Control group) จำนวน ๗๗ คน และกลุ่มที่ ๒ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้บัตรบอกสถานที่ร่วมกับการขอหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้ป่วย (Intervention group) จำนวน ๗๒ คน เก็บข้อมูลระหว่าง ๙ ธ.ค. ๕๓ - ๙ มิ.ย. ๕๔ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ ๙๕%

ผลการศึกษา: สัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้ทำการนัดหมายภายในวันเดียวกันกับที่เข้ารับบริการในทูเมอร์คลินิกใน ๒ กลุ่ม เป็น ๑๐๐% เท่ากัน

สรุป: เมื่อทั้ง ๒ วิธีการให้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน ทางคณะผู้วิจัยจึงเลือกการใช้บัตรบอกสถานที่เพียงอย่างเดียวในการปฏิบัติงานจริงในทูเมอร์คลินิก เนื่องจากให้ประสิทธิภาพของวิธีการเทียบเท่ากับการใช้บัตรบอกสถานที่ร่วมกับการขอหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้ป่วย อีกทั้งวิธีการนี้ยังไม่เป็นการรบกวนเวลาผู้ป่วยที่ต้องรีบไปทำการนัดหมายตามหน่วยตรวจต่างๆ และเป็นการลดภาระงานและลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทูเมอร์คลินิกอีกด้วย

Article Details

How to Cite
1.
รัตนวิจิตราศิลป์ ส. ประสิทธิภาพในการนัดหมายนอกหน่วยตรวจของผู้ป่วยทูเมอร์คลินิก. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Mar. 31 [cited 2024 Sep. 18];6(1):1-6. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81658
Section
Original Article