ภาวะผู้นำของหัวหน้างาน : กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Main Article Content

วัลลีย์ ศรีประภาภรณ์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลของหัวหน้างาน รูปแบบของภาวะผู้นำ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคลของหัวหน้างานกับรูปแบบภาวะผู้นำ

วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบวิธีสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ให้แบบสอบถามกับผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน ภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจำนวน ๔๐๐ ชุด และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน ๓๔๙ ชุด และได้แบ่งการรายงานออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม, ส่วนที่ ๒ ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของหัวหน้างาน, ส่วนที่ ๓ ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานของหัวหน้างาน และส่วนที่ ๔ ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ควรจะเป็นของผู้ตอบ แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ ๒ พฤษภาคม ถึง ๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

ผลการศึกษา: ทั้งเชิงรับและเชิงรุก หัวหน้างานที่มีอายุน้อยเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพัฒนาศักยภาพของตน มีการปรับเปลี่ยนระบบการปฎิบัติงานภายในหน่วยงาน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจในการปฏิบัติ งาน ส่วนหัวหน้างานที่มีอายุมาก มีความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงและ พร้อมจะพัฒนาตนเองเสมอ หัวหน้างานเพศหญิงมีการเข้าร่วมกิจกรรมรื่นเริงกับผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการประชุม ปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับบัญชาก่อนปฏิบัติงาน สำหรับการศึกษา หัวน้างานที่มีการศึกษาสูง มีความรู้ความสามารถ ในงานที่รับผิดชอบมาก และมีความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ มีการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงาน ภายในเสมอ ทั้งยังสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าได้ดี ชอบให้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาก่อนการปฏิบัติงาน และยอมรับการเปลี่ยนแปลง ระยะเวลาการรับราชการ หัวหน้างานที่มีอายุการรับราชการมากมีความรอบรู้ในเรื่องกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และเน้นความสำเร็จของงานเป็นหลัก

สรุป: สถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการแบบอย่างผู้นำที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าการให้ผู้นำที่มีอายุน้อยได้ ขึ้นเป็นตำแหน่งหัวหน้าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานในแง่ของการร่วมงานกัน บรรยากาศในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังสรรค์ของหน่วยงาน และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำ งาน ในขณะเดียวกันยังพบว่า ยังขาดเรื่องความแม่นยำในกฎระเบียบ ซึ่งควรมุ่งเน้นพัฒนาหัวหน้าผู้ที่มีอายุงานน้อยกว่าในเรื่องดัวกล่าว หรือ ในหน่วยงานที่ต้องการความแม่นยำทางกฎระเบียบ จำเป็นต้องเลือกผู้นำที่มีอายุงานสูงกว่า ผู้นำที่มีการศึกษาสูงมีจุดเด่นอยู่ที่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และเน้นการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันในงาน การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลนั้น ผู้นำจะต้องปรับภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และให้สามารถนำลูกน้องทำงานให้บรรลุ พันธกิจขององค์กรได้

Article Details

How to Cite
1.
ศรีประภาภรณ์ ว. ภาวะผู้นำของหัวหน้างาน : กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Mar. 31 [cited 2024 Dec. 23];6(1):15-21. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81670
Section
Original Article