การพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๕ ทั้งหมดจำนวน ๖๕๖ คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากจากฐานข้อมูลประวัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ย้อนหลัง ๕ ปีการศึกษาโดยใช้แบบบันทึกการเก็บข้อมูล (case record form) ผู้วิจัยคัดเลือกศึกษาเฉพาะตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระจำนวน ๙ ตัวแปร ได้แก่ ๑) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (GPAM6) ๒) เพศ ๓) ศาสนา ๔) ภูมิลำเนา ๕) ประเภทของโรงเรียน ๖) สาขาที่จบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๗) ปีการศึกษาที่เข้าศึกษา ๘) รายได้ของผู้ปกครอง ๙) คะแนนสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย (O-NET) แบ่งได้เป็น ๙.๑) คะแนนสอบคัดเลือกวิชาภาษาไทย ๙.๒) คะแนนสอบคัดเลือกวิชาสังคมศึกษา ๙.๓) คะแนนสอบคัดเลือกวิชาภาษาอังกฤษ ๙.๔) คะแนนสอบคัดเลือกวิชาคณิตศาสตร์ ๙.๕) คะแนนสอบคัดเลือกวิชาวิทยาศาสตร์ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (GPAX) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน หาสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า (Enter Selection)
ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ผลการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ที่ร้อยละ ๓๗.๙๐ โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (b = ๐.๒๓๘) ปีการศึกษาที่เข้าศึกษา (b = ๐.๑๑๖) คะแนนสอบคัดเลือก O-NET วิชาภาษาไทย (b = ๐.๐๑๑) คะแนนสอบคัดเลือก O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ (b = 0.007)