ประสิทธิภาพการเขียนใบชันสูตรบาดแผล ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๕ ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

Main Article Content

วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการเขียนเอกสารทางคดีที่เรียกว่า “ใบชันสูตร บาดแผล” ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๕ คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ตำรวจจะส่งมาให้แพทย์เขียนภายหลังที่ได้ตรวจผู้ป่วยแล้วเอกสารดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น ๓ ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก (ส่วนประวัติของผู้ป่วย) ส่วนที่ ๒ (ส่วนที่แพทย์ตรวจได้จากผู้ป่วย) และ ส่วนที่ ๓ (ส่วนความเห็นที่จะมีผล ในทางคดี) อีกทั้งยังมีส่วนรองคือส่วนที่ ๔ หรือส่วนท้ายในการลงนามผู้ตรวจโดยผู้วิจัยได้แบ่งนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๕ ซึ่งเรียนในหัวข้อ “การเขียนใบชันสูตรบาดแผล” ออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งใช้แนวทางในการอธิบายวิธีการเขียนให้รับทราบโดยยกตัวอย่างผู้ป่วย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งหลังอธิบายวิธีการเขียนให้รับทราบแล้วได้ให้นักศึกษาไปตรวจผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยแล้วกลับมาเขียนผลการวิจัยพบว่า ในส่วนที่ ๑, ส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๔ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>๐.๐๕) แต่ในส่วนที่ ๓ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<๐.๐๕) แสดงถึงการที่นักศึกษาหากได้ตรวจผู้ป่วยจริงๆ แล้วย่อมตระหนักถึงสภาพแห่งความร้ายแรงของการบาดเจ็บสอดคล้องกับผลทางกฎหมาย

Article Details

How to Cite
1.
ฟองศิริไพบูลย์ ว. ประสิทธิภาพการเขียนใบชันสูตรบาดแผล ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๕ ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Mar. 31 [cited 2024 Dec. 23];6(2):85-92. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81705
Section
Original Article