ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Main Article Content

สุชีรา วิบูลย์สุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางจิตและปัจจัยทางสังคมกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 -6 จำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (α) = 0.940 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยลักษณะทางจิตทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนทางการเรียนรู้ บทบาของอาจารย์ในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สัมพันธภาพกับเพื่อน และความพร้อมของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้นตัวแปรสัมพันธภาพในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองมากที่สุด คือ แรงจูงใจภายใน และการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.647 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง คือ แรงจูงใจภายใน (0.389) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.389) สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้ร้อยละ 50.4

Article Details

How to Cite
1.
วิบูลย์สุข ส. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Aug. 30 [cited 2024 Nov. 5];10(2):83-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/97669
Section
Original Article