สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล ของพยาบาลที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของพยาบาล
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง พยาบาลวิชาชีพ ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ 1 ปีขึ้นไป เลือกตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือ คือ แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ พัฒนาตามแนวคิดของรุ่งฟ้า อธิราษฏร์ไพศาล ประเมินตนเอง 8 ด้าน คือ 1. การมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ 2. การสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุ 3. การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ 4. การปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 5. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยสูงอายุ 6. การจัดการกับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ 7. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ 8. การประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่า CVI = 0.99 ทดลองใช้ในพยาบาล 30 คน ค่าความเชื่อมั่น 0.98 เก็บข้อมูลเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ.2566 ผ่าน Google Form วิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบทีอิสระ ทดสอบเอฟ ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา: พยาบาล 365 คน ส่วนใหญ่ทำงานมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 47.4) ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด (ร้อยละ 36.4) เคยดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว (ร้อยละ 76.4) ไม่เคยอบรมการดูแลผู้สูงอายุ (ร้อยละ 62.4) กลุ่มที่เคยอบรม ส่วนใหญ่อบรมระยะสั้น (1-5 วัน) (ร้อยละ 46.7) ระดับสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโดยรวม อยู่ในระดับดี (x̄= 3.76, SD = 0.49) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยสูงอายุ (x̄= 4.37, SD = 0.49) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ ส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาด้านความรู้ ด้านการปฏิบัติด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ ร้อยละ 88.2, 40.8, 34.5 ตามลำดับ
สรุป: พยาบาลควรมีการประเมินระดับสมรรถนะด้วยตนเอง ด้วยพยาบาลอาวุโสหรือหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นระยะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization [internet]. Maternal, newborn, Child and adolescent health and ageing. Data portal. [cited 2022 Sep 01]. Available from: https://platform.who.int/data/maternal-newborn-child-adolescent-ageing/indicator-explorer-new/mca/percentage-of-total-population-aged-60-years-or-over
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน); 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=40208
Division of Medical Record, Siriraj Hospital, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. Statistical report 2021, siriraj hospital [internet]. 2022. [cited 2022 Sep 01]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/mrst/
วชิรนันท์ ศิริกุล. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2567]; เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/commed/wp-content/uploads/2021/07
สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(3);150-163. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/246933/167650.
American Association of Colleges of Nursing (AACN) [internet]. Recommended Baccalaureate Competencies and Curricular Guidelines for the Nursing Care of Older Adults. [cited 2022 Sep 13]. Available from: https://www.aacnnursing.org/Portals/42/AcademicNursing/ CurriculumGuidelines/ AACN-Gero-Competencies-2010.pdf.
รุ่งฟ้า อธิราษฏร์ไพศาล. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
เกษสุวรรณ สังหาวิทย์. สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น [ปริญญานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ขอบเขตและสมรรถนะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาต่าง ๆ. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/H014.pdf
Ngamjarus C, Chongsuvlvatwon V, McNei E. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Med J [Internet]. 2016 [cited 2022 Jan 11]; 68:160–70. Available from: https://he02.tci- thaijo.org/index. php/sirirajmedj/article/view/58342
Daniel WW. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences 6th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.
HU, Fang-Wen, LEE, Huan-Fang, LI, Yueh-Ping. Exploration of Geriatric Care Competencies in Registered Nurses in Hospitals. J Nurs Res. 2021;29(4):78-90. Available from doi: 10.1097/JNR.0000000000000441
Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. John Wiley & Sons, Inc.; 1995.
กัญญดา ประจุศิลป, ศิริญญา ชุ่มเต็ม. การปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล. 2564;70(3):1-10. [เข้าถึงเมื่อ25 ธ.ค. 2566]; เข้าถึงได้จาก: //he02-old.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/247272
Dahlke S, Hunter KF, Negrin K, Reshef Kalogirou M, Fox M, Wagg A. The educational needs of nursing staff when working with hospitalised older people. J Clin Nurs 2019;28(1-2):221-34. Available from doi: 10.1111/jocn.14631. Epub 2018 Aug 28. PMID: 30039614.
Chunlan B, Lihui P, Hongxiu C, Xiuying H. The gerontological nurse specialist's core competencies in China: A cross-sectional study. Nurs Open. 2020;7(6):1928-35. Available from doi: 10.1002/nop2.583. PMID: 33072378; PMCID: PMC7544875.
Chen, H., Pu, L., He, S. et al. Status and associated factors of gerontological nurse specialists’ core competency: a national cross-sectional study. BMC Geriatr. 2023. Available from https://doi.org/10.1186/s12877-023-04153-0
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, วัลทณี นาคศรีสังข์. สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ เมื่อเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2015;27(1): 1-11.
วิยะดา รัตนสุวรรณ, ปะราลี โอภาสนันท์. การพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2015;21(4):123-43.
ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์, สุภาวดี เที่ยงธรรม, นัดดา คำนิยม, สาวิตรี สมมงคล, มยุรี ลี่ทองอิน, สมรภพ บรรหารักษ์, อรสา กงตาล. สมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ รุ่นที่ 1*. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2016;41(1):77-86.
Hawkley LC, Long M, Kostas T, Levine S, Molony J, Thompson K. Geriatrics training for nurses in a skilled nursing facility: a GWEP feasibility study. Geriatr Nurs. 2018;39(3):318-22. Available from doi: 10.1016/j.gerinurse.2017.10.014. Epub 2017 Dec 8.
Mezey M, Quinlan E, Fairchild S, Vezina M. Geriatric competencies for RNs in hospitals. J Nurses Staff Dev. 2006;22(1):2-10. Available from doi: 10.1097/00124645-200601000-00002. PMID: 16465090.
Bourbonniere M, Strumpf EN. Enhancing Geriatric Nursing Competencies for RNs in Nursing Homes. Research in Gerontological Nursing. 2008;1(3):171-5. Available from doi: 10.3928/19404921-20080701-03. PMID: 20077961.
สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี, ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ. ความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2022;16(1):325-42.
ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้าน การพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2019;28:65-78.