ผลของการให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาที่บ้าน ต่อความร่วมมือในการใช้ยา และความปลอดภัยจากยาในผู้สูงอายุชุมชนดอนเวียงจันทร์

ผู้แต่ง

  • Chanuttha Ploylearmsang Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University

คำสำคัญ:

การให้คำแนะนำ ความร่วมมือในการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์ ผู้สูงอายุ เยี่ยมบ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการให้คำแนะนำการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาและความปลอดภัยจากยาในผู้สูงอายุโดยการเยี่ยมบ้าน เป็นการวิจัยเชิงทดลองในกลุ่มเดียว ประเมินผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุ ≥ 60 ปี มีโรคเรื้อรังและได้รับยารักษา จำนวน 33 คน ผู้สูงอายุจะได้รับคำแนะนำและติดตามการใช้ยาที่บ้านโดยเภสัชกร อย่างน้อย 2 ครั้งต่อคน ครั้งละ 45-90 นาที เก็บข้อมูลทั้งหมด 4 ครั้ง ระหว่างมกราคม – กุมภาพันธ์ 2559 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุดอนเวียงจันทร์ อายุเฉลี่ย 68.7±6.6 ปี โรคเรื้อรังที่พบมากคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 36.4 ได้รับยา ≥ 5 ชนิดต่อวัน โดยเป็นยาที่เสี่ยงสำหรับผุ้สูงอายุ 13 รายการ ที่พบมากที่สุดคือ ยากลุ่ม NSIADs หลังได้รับคำแนะนำที่บ้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 63.6 และ 90.9 ตามลำดับ, p=0.004) หลังติดตามต่อเนื่อง 2 เดือนไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ คู่ยาที่พบโอกาสเกิดอันตรกิริยามากที่สุดคือ Aspirin กับ Enalapril พบในผู้สูงอายุ 6 คน ซึ่งยา Aspirin อาจมีผลลดประสิทธิภาพของยา Enalapril ทำให้ฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดและลดความดันโลหิตลดลง ส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยได้ ผู้สูงอายุประเมินความพึงพอใจต่อการให้คำแนะนำที่บ้านในระดับดีมาก สรุปผลการศึกษาได้ว่า การให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาแก่ผู้สูงอายุที่บ้าน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา เสนอแนะให้เภสัชกรมีบทบาทติดตามการใช้ยาที่บ้านต่อเนื่องต่อไป

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2554 [ออนไลน์]. ได้จาก:
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/ เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2558.
2. ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2556; ฉบับที่ 16:1-19.
3. สุนิดา สดากร, วรนุช แสงเจริญ, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557; 9(ฉบับพิเศษ):116-121.
4. Bilotta C, Lucini A, Nicoloni P, Vergani C. An easy intervention to improve short-term adherence to medications in community-dwelling older outpatients. A pilot non-randomised controlled trial. BMC health services research 2011;11:158.
5. Ruscinm JM and Linnebur SA. Pharmacokinetic in elderly [online]. 2011 [cited 2015 september 25]. Available from: http://www.merckmanuals.com/professional/geriatrics/drug-therapy-in-the elderly/pharmacokinetics-in-the-elderly
6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด; 2553.
7. วรรณคล เชื้อมงคล, ปิยวดี สุขอยู่, นลินี เครือทิวา. ผลการให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องต่อความร่วมมือในการใช้ยาที่คลินิกบำบัดทดแทนไต โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):339-353.
8. Grymonpre RE, Didur CD, Montgomery PR, Sitar DS. Pill Count, Self-Report, and Pharmacy Claims Data to Measure Medication Adherence in the Elderly. The Annals of Pharmacotherapy 1998;32: 749-754.
9. Conn VS, Hafdahl AR, Cooper PS, Ruppar TM, Mehr DR and Russell CL. Interventions to Improve Medication Adherence Among Older Adults: Meta-Analysis of Adherence Outcomes Among Randomized Controlled Trials. The Gerontologist 2009; 49(4): 447–462.
10. ปิยพร สุวรรณโชติ. กลวิธีที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
11. ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, กรรณิกา เทียรฆนิธิกูล, จันทร์จิรา ชอบประดิถ, สุรศักดิ์ สุนทร, วิมล สุวรรณเกษาวงศ์. การพัฒนารายการยาเพื่อใช้คัดกรองและลดโอกาสเกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2554.
12. นิสิตตรา พลโคตร. ผลของการให้คำแนะนำปรึกษาก่อนกลับบ้านและออกเยี่ยมบ้านแก่ผู้ป่วยสูงอายุโดยเภสัชกร [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
13. อรนุช สารสอน, นิศากร สิทธิ, อภิสิทธิ์ เรือนจันทร์, นัดดา พรหมสาขา ณ สกลนคร. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้สูงอายุที่บ้าน ตำบลขามเรือง จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
14. Kastrup KE, Walker SE and Johnson PB. Drug facts and comparisons 2015. The united states of America: Clinical drug information, LLC; 2015.
15. William J, Matthew A, Morton P, et al. Drug information handbook. 23nd ed. Ohio: Lexicomp; 2014-2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-13