การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านด้านการรักษาโรคเบาหวานด้วยยาสมุนไพร อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา หมอประกาศิต อำไพพิศ

ผู้แต่ง

  • นายเจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ; โรคเบาหวาน ; ยาสมุนไพร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            โรคเบาหวามมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย เป็นโรคที่เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และส่วนมากจะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลจำนวนมาก การแพทย์ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษามากขึ้นเนื่องจากมีค่ารักษาที่ไม่สูง และใช้สมุนไพรเป็นยาในการรักษา จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าหมอประกาศิต อำไพพิศเป็นผู้ที่มีบทบาทในการใช้ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน และยังไม่มีใครศึกษาเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้

            ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านด้านการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้ยาสมุนไพร เป็นการใช้ทั้งสมุนไพรสดและสมุนไพรแห้งในการรักษา โดยก่อนทำการรักษาหมอประกาศิตจะทำการซักประวัติผู้ป่วยโดยการซักถามอาการและการสังเกตลักษณะทั่วไปโดยรวม จากนั้นจึงทำการตรวจวินิจฉัยโรค โดยมีวิธีการใช้แท่งเหล็กทองเพื่อชี้อวัยวะตามร่างกายเพื่อดูพลังงานที่ส่งมาจากอวัยวะของผู้ป่วย เรียกวิธีการตรวจร่างกายแบบนี้ว่าการตรวจแบบโอริงเทส เมื่อทำการวินิจฉัยโรคแล้ว จากนั้นจึงทำการจ่ายยาสมุนไพรให้กับผู้ป่วย ตัวยาในตำรับยาที่จ่ายให้แต่ละคนจะมีปริมาณไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาการหนักเบาของผู้ป่วย โดยมีตัวยา 2 ตำรับ คือ (1) ตำรับยาที่ใช้ในการขับพิษสารเคมีและขับพยาธิ.มีตัวยาสำคัญคือ แก่นมะเกลือ เปลือกมะหาด ใบคนทีสอ รากหนอนตายหยาก เถาวัลย์เปรียง เพื่อขับพิษสารเคมีและขับพยาธิ (2) ตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานมีตัวยาสำคัญ คือ รางจืด (มะดูก) เถาหรือใบย่านางแดง ใบเล็บมือนาง เพื่อรักษาโรคเบาหวานสุดท้ายจึงแนะนำผู้ป่วยเรื่องวิธีการปฏิบัติตัวในการดำเนินชีวิตโดยการกินอยู่แบบธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง กลับมาทำงานได้อย่างคนปกติ การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านยังมีบทบาทในการดูแลรักษาโรคเบาหวานระยะที่ 2 ของประชาชน อำเภอ สตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้สมุนไพรในท้องถิ่นและการใช้หลักธรรมชาติ ในการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม

คำสำคัญ : ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ; โรคเบาหวาน ; ยาสมุนไพร

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2558). รายงานประจำปี ANNUAL REPORT 2015. กรุงเทพฯ: กรมการควบคุมโรคจัดทำ.
กัญญารัตน์ จันโสม. (2553). ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย กรณีศึกษา พระครูปุณณสารโสภิ(หลวงปู่สม) จังหวัดร้อยเอ็ด. (ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลาลัย โชคดีศีรีจันทร์. (2558). การแพทย์แผนไทย คิดอย่างไรกับโรคเบาหวาน. บทความ.แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ วิทยาลัย การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศ.
พรทิพย์ แก้วชิณ และนฤทธิ์ พลสูงเนิน. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในเขตอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัด นครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554) . รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์ (รสพ).
แสงสิทธิ์ กฤษฎี. (2559). เบาหวาน (มธุเมโห) ตามหลักการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-17