การประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพและอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงเลื่อยไม้ยางพาราในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • Phayong Thepaksorn Sirindhorn College of Public Health, Trang

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, อาการระบบทางเดินหายใจ, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, โรงเลื่อย, ไม้ยางพารา

บทคัดย่อ

                  การศึกษาวิจัยการประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพและอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงานโรงเลื่อยไม้ยางพาราในจังหวัดตรัง เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงสำรวจ (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพ อาการระบบทางดินหายใจและความสัมพันธ์ต่ออาการระบบทางเดินหายใจของพนักงาน จำนวน 145 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานไคสแควร์ (Chi – Square test)   ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 53.79 มีอายุอยู่ในช่วง 20 -30 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.10 มีระยะเวลาการทำงานอยู่ในช่วง 0-5 ปี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 73.10 ปฏิบัติงานอยู่ในแผนกเรียงไม้จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 31.03 ส่วนใหญ่ไม่เคยอบรมการใช้หน้ากากปิดจมูกจำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 71.72  ในการทำงานมีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ หน้ากากปิดจมูกทุกครั้งจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 48.97 มีระดับการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 72.41 มีระดับการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านชีวภาพอยู่ในระดับสูงจำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 51.72 มีระดับการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านเคมีอยู่ในระดับสูงจำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 64.83    และ พบสิ่งคุกคามด้านกายภาพมีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.03)   

Author Biography

Phayong Thepaksorn, Sirindhorn College of Public Health, Trang

Deputy Director

References

1. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. รายงานประจำปี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2557]. แหล่งข้อมูล: http://www.sso.go.th/
2. แอนน์ จิรพงษ์สุวรรณ. สิ่งคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและการสำรวจสถานประกอบการ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 106-114.
3. พยงค์ เทพอักษร. ปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บและการประสบอันตรายจากการทำงานของสถานประกอบการในจังหวัดตรัง.สหวิทยาการ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน; 17-18 กรกฎาคม 2557; มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. ภูเก็ต; ราชภัฎภูเก็ต ; 2557.
4. สำนักงานแรงงานจังหวัดตรัง. รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดตรัง ไตรมาส 2 ปี 2557 จังหวัดตรัง[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2557]. แหล่งข้อมูล: http://trang.mol.go.th.
5. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2557]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaithoracic.or.th/
6. ธนาวัฒน์ รักกมล ธิติมา ณ สงขลา วรินทิพย์ ชูช่วย อรนุช อิสร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของพนักงานที่มีการสัมผัสแอมโมเนีย จากการรับซื้อน้ำยางสดในสหกรณ์กองทุนสวนยางเขตภาคใต้. วารสารควบคุมโรค 2558;285-296 .
7. ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์. ผลกระทบจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไชด์ต่อภาวะการเจ็บป่วยระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในประชาชน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2539. 102 หน้า.
8. Sukkasem P. A study of prevalence rate and factors associated with symptoms and abnormal pulmonary function among furniture workers [Master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2005. 120 page.
9. จารุนิล ไชยพรม, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร 2556: 43(1):74-86.
10. สราวุธ วิชิตนันทน์, พิชญา พรรคทองสุข, บรรจง วิทยวีรศักดิ์. ผลกระทบของฝุ่นไม้ต่อความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของพนังงานโรงเลื่อยไม้ยางพาราในจังหวัดยะลา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2551: 1( 4): 9-21.
11. Thetkatheuk A, Yingrastsnasuk T, Demer P, Thepaksorn P, Soawakon S, Keifer M. Rubberwood dust and lung function among Thai furniture factory workers. Int J Occup Envion Health 2010; 69-74.
12. นุจรีย์ แซ่จิว. การสัมผัสฝุ่นไม้จากการทำงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา [ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2551. 230 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-17