พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา มาตย์บัณฑิต รพ.อุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง, โรงงานผลิตน้ำตาลทราย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานในโรงงานผลิตน้ำตาล  จังหวัดอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  พนักงานทุกคนปฏิบัติงานในแผนกที่สัมผัสเสียงดังเกิน  85  เดซิเบล (เอ)  จำนวน  16  แผนก  อายุงานตั้งแต่  1  ปีขึ้นไป  จำนวนคน  165  คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดตอบเอง  ระยะเวลาที่ทำการศึกษา  เดือนธันวาคม  2559 – มีนาคม  2560  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  จำนวน  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า  แบบสอบถามมีอัตราตอบกลับ  ร้อยละ  100.0  กลุ่มตัวอย่าง  165  คนทั้งหมดเป็นเพศชาย  อายุเฉลี่ย  43.8 ปี  ร้อยละ  29.1  จบมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.  ส่วนใหญ่  (ร้อยละ  80.0)  ไม่มีโรคประจำตัว  เกือบครึ่งหนึ่งทำงานในโรงงานแห่งนี้และแผนกที่สัมผัสเสียงดังมานานกว่า  15  ปี  ระยะเวลาทำงาน 36 – 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  และทำงานล่วงเวลา  2 – 28 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงโดยรวมในระดับพอใช้  ร้อยละ 81.2 โดยเมื่อพิจารณาพฤติกรรมรายด้าน พบว่า  การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 53.3  การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงอยู่ในระดับดี ร้อยละ 86.1  การดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียงอยู่ในระดับพอใช้  ร้อยละ  66.7  และการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรอยู่ในระดับดี  ร้อยละ  55.8 

 

References

Health and Executive [HSE]. (2017). Guidance for employers on the control of Noise at Work Regulation. Retrieved, October 5, 2017, from: http://www.hse.gov.uk
Mcreynolds, C. M. (2005). Noise Induce Hearing Loss. Air medical Journal ; 24 (2): 73-78.
National Occupational Research Agenda. [NORA] (2001). Hearing loss. Retrieved 10 November 2016, from http://www.cdc.gov/noish/nrhear.html
Nelson DI, Nelson RY, Concha- Barrientos M, Fingerhut M. (2005). The global burden of occupational noise-induced hearing loss. Am J Ind Med, 48, 446-458.
Raymond, D. M., & Lusk, S. L. Staging Worker. (2006). Use of Hearing Protection Devices Application of the Trastheoretical Model. American Association of Occupational Health Nurse, 54(4), 165-172.
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2560). ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-Induced Hearing Loss). เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560, จากhttp://www.med.cmu.ac.th/dept/commed/2015/images/files/pdf/322315/sound.pdf
พรพิมล กรองทิพย์. (2545). สุขศาสตร์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560, จาก http://www.summacheeva.org/index_share_law_hearing.htm
สมาคมการส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย). (2560). การตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560, จาก http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=486:-m-m-s&catid=47:-m---m-s&Itemid=201
สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. (2559). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย. กรุงเทพมหานคร, สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สาวิตรี ชัยรัตน์, อดุลย์ บัณฑุกุล, เพ็ญภัทรา ศรีไพบูลย์กิจ. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนระดับความสามารถในการได้ยินมาตรฐานในพนักงานบริษัทผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 13 (1), 59-70.
สุภาพร ธารเปี่ยม, ชวพรรณ จันทรประสิทธิ์และวันเพ็ญ ทรงคำ. (2550). สมรรถภาพการได้ยินและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงในคนงานโรงงานผลิตน้ำตาลทราย. พยาบาลสาร, 34(4), 70-81.
ไอรฎา คงคาชัย. (2553). สมรรถภาพการได้ยินและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงในคนงานโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-17