การพัฒนาระบบติดตามความครอบคลุมในการรับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศุภานิช ธรรมธินโน รพ.สต.โคกเนียก

คำสำคัญ:

การพัฒนา,ระบบติดตาม,วัคซีน,ความครอบคลุมวัคซีน

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบติดตามความครอบคลุมการรับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามให้เด็กได้รับวัคซีนตามนัดเพิ่มขึ้น ขาดนัดวัคซีนลดลง และเพื่อให้ความครอบคลุมวัคซีนแต่ละชนิดมากกว่าร้อยละ 95 ปัญหาที่พบ คือ เด็ก 0-5 ปี ตำบลท่าโพธิ์ไม่รับบริการวัคซีนตามนัด ทำให้ความครอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์และเกิดการระบาดโรคติดต่อขึ้น รพ.สต.โคกเนียนวางแผนแก้ไขปัญหากับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) โดยจัดทำแบบฟอร์มติดตามขาดนัดวัคซีนด้วยระบบสีจัดกลุ่ม เพิ่มระบบประชาสัมพันธ์ให้มีความเข้มข้น และเป็นระบบมากขึ้น ประยุกต์ใช้แนวคิด คือ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เลือกใช้ Cues to action ของเบคเกอร์ สร้างระบบสีเพื่อการจัดกลุ่มเด็กขาดนัดวัคซีน จากการให้บริการด้วยระบบใหม่ และการแจ้งเตือนด้วยระบบประชาสัมพันธ์ผ่านทาง social media และสื่อบุคคล คือ อสม. และ อสต.พบว่าอัตราการขาดนัดวัคซีนลดลง คิดเป็นร้อยละ 6.65 เด็กไทยขาดนัดวัคซีนมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยเดือนละ 3 ราย เด็กต่างด้าวขาดนัดวัคซีนลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1 ราย ผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.70 และความครอบคลุมวัคซีนแต่ละชนิดทั้งเด็กไทยและต่างด้าวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 95 ทุกกลุ่มอายุ

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558) ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี
2556. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน).วัคซีนพื้นฐาน (EPI program). [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน
2561];เข้าถึงได้จาก http://nvi.go.th/index.php
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง.แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model). [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 15
มิถุนายน 2561];เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org
บอรอเฮง ดีเยาะ.(2537).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. [วิทยานิพนธ์/ศึกษาศาสตร์เพื่อ
พัฒนาชุมชน]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสลขลานครินทร์
สุชาติ บุณยภากร.(2548).ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหมู่บ้านที่มีความครอบคลุมการ
มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคต่ำ [วิจัย/ส.ม.สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-21