รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้านในชุมชนควนขนุน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
Model of household solid waste management, Housewivesบทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้านในชุมชนควนขนุน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้าน คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 39 คน และกลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบไปทดลองใช้ คือ แม่บ้านที่มีความสมัครใจ จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ one sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามประเด็นและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษา รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้าน คือ ตลาดนัดขยะมูลฝอย การทำปุ๋ยน้ำหมักร่วมใจลดปริมาณเศษอาหาร ผัก และผลไม้ในครัวเรือน และกิจกรรมไลน์ประชาสัมพันธ์ลดการใช้ถุงพลาสติก ส่วนการประเมินผลรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของแม่บ้าน พบว่า แม่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ของการลด การคัดแยก และการนำขยะมูลฝอยในครัวเรือนกลับมาใช้ใหม่ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ย 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการสัมภาษณ์เจาะลึก พบว่า แม่บ้านพึงพอใจกับรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน เพราะรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนนี้สามารถช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน นอกจากนี้ รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน สร้างรายได้จากขยะรีไซเคิล และสามารถขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นๆ ได้ จากการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่าควรนำรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ไปขยายผลสู่ครัวเรือนอื่น ๆ ในชุมชนเพิ่มขึ้น และควรขยายผลสู่กลุ่มตัวอย่างอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน แม่บ้าน
References
เกศินี แกว่นเจริญ. บรรณาธิการ. (ม.ป.ป.). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับธรรมาภิบาลในการจัดการ ทรัพยากร ผู้หญิง: สร้างธรรมาภิบาลในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อการชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน (Participatory Action Research-PAR) มิติ ใหม่ของ
รูปแบบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต, สาขา
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2556). พฤติกรรมของแม่บ้านในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในอาคารที่พักอาศัยของ กรม
ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ.1) เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสังคม
ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเลม็ด อำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บัณฑิต คุ้มวานิช. (2555). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พันธุ์ทิพย์ รามสูต. (2540). การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุข อาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2553). การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ไพฑูรย์ อินทศิลา. (29 เมษายน 2558). การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครตรัง. หนังสือพิมพ์โอดี้นิวส์. ไม่ปรากฏเลขหน้า.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2548). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารราชภัฎตะวันตก. 1(1), 20- 21.
วีระ นิยมวัน. (2542). การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC. กรุงเทพมหานคร: สหประชาพาณิชย์
สมบูรณ์ อาพนพนารัตน์ และคณะ (ม.ป.ป). แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน. รายงานวิจัย. ลำพูน: โครงการพัฒนา และส่งเสริมความ ร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม.
สมหมาย ยอดเพชร. (4 กันยายน 2558). ข้อมูลบริบททั่วไปของชุมชนและสภาพปัญหาด้านการจัดการ ขยะ
มูลฝอยในชุมชนควนขนุน. สัมภาษณ์.
สุณีรัตน์ ยั่งยืน และคณะ. (2556). “การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการธนาคารขยะ ของชุมชนบ้านหัวหนอง
ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชน. วันที่
เข้าถึง 6 กันยายน 2558, เข้าถึงได้จาก http://data.reo14.go.th/plan56-59/6.docx.
อุ่นเรือน ทองอยู่สุข. (2547). มิติสตรี วิถีสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ThaiPublica. (2556). สถานการณ์ขยะของไทย วิกฤติขยะ 26 ล้านตัน กำจัดได้อย่างถูกต้องแค่ 7.2 ล้านตัน. วันที่เข้าถึง 6 กันยายน 2558, เข้าถึงได้จาก จากhttp://thaipublica.org/2014/09/thailands-
garbage-crisi.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข