การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในผู้ที่เข้ามารับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน ณ คลินิกทันตกรรมนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559
คำสำคัญ:
การเคลือบหลุมร่องฟัน, การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน, คลินิกทันตกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และซี่ฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ศึกษาการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามบนกับการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามล่างในผู้ที่เข้ามารับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน ณ คลินิกทันตกรรมนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง การศึกษาเป็นการวิจัยแบบตัดขวาง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เข้ามารับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน ณ คลินิกทันตกรรมนักศึกษาของวิทยาลัยฯ จำนวน 62 คน ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน จำนวน 155 ซี่ โดยเก็บข้อมูลโดยใช้ชุดตรวจ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการยึดติดสมบูรณ์ของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 56.13 ความสัมพันธ์ระหว่างการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามบนกับฟันกรามล่าง พบว่าการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามบนมีความสัมพันธ์กับการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01)
References
ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24(2): 228-237.
ศูนย์ดูแลสุขภาพช่องปาก. 2560. การเคลือบหลุมร่องฟัน. ค้นคืนวันที่ 10 กรกฎาคา 2560 จาก
http://www.colgate.co.th/th/th/oc/oral-health/procedures/sealants
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. 2554. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์
ครั้งที่ 4 กรุงเทพ: ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นุชนารถ เปล่งศรีงาม, ประสิทธิผลการเคลือบหลุมร่องฟันในโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 91-98
ทวีชัย สายทอง. 2551. พฤติกรรมทันตสุขภาพเด็กไทยวัยเรียน. วารสารทันตกรรม
มหาวิทยาลัยมหิดล 2537;14:34-47
ธิดารัตน์ อังวราวงศ์, ไรวดา อินทรักษา, สุพิชญา ศรีสันติสุข และอรอุมา อังวราวงศ์. 2556. การ
เปรียบเทียบกำลังยึดติดแบบเฉือนระหว่างสารผนึกหลุมและร่องฟันชนิดที่ไม่มี
ฟลูออไรด์, ชนิดที่มีฟลูออไรด์ และชนิดที่มีอะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต. J Dent
Assoc Thai Vol. 63 No. 4 October – December
เรวดี ต่อประดิษฐ์. 2542. ทันตกรรมป้องกัน. ค้นคืนวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 จาก
www.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index.php
วลีรัตน์ ชุมภูปัน. 2554. การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันของหน่วย
ทันตกรรมเคลื่อนที่ในโรงเรียนกับคลินิกทันตกรรมในระยะเวลา 6, 12, และ 36 เดือนใน
เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-
ธันวาคม.
วลัยพร อรุณโรจน์. 2559. การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุที่ระยะเวลา
60 เดือน โรงพยาบาลบางกล่ำจังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ
การสาธารณสุข ภาคใต้. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559
สุกัญญา เธียรวิวัฒน์. (2555). โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเคลือบหลุมร่องฟัน โดย
การรายงานผลการยึดอยู่ของสารเคลือบหลุมร่องฟันต่อผู้ให้บริการอย่างเจาะจง.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุภาภรณ์ จงวิศาล. (2545). การศึกษาความเท่าเทียมระหว่างวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
จุฬาเดนท์ และวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันนำเข้าบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งเมื่อติดตามผล
6 เดือน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2554. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพที่ดี
ในทุกช่วงวัยของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานผลการเปรียบเทียบ
ผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ครั้งที่ 2-7. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 ก.ค. 60 จาก
http://www.anamai.ecgates.com/userfiles/file/compare.pdf
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2556.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก
ระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
อโนมา รัตนะเจริญธรรม. ม.ป.ป. มารู้จักการเคลือบหลุมร่องฟันกันเถอะ. ค้นคืนวันที่ 15
กรกฎาคม 2560 จาก http://www.thaisaeree.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข