ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมไม้นวดยางยืดสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ไม้นวด, ยางยืด, ประสิทธิผล, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแต่การออกกำลังกายเพื่อชะลอความเสื่อมและส่งเสริมสมรรถนะร่างกายในผู้สูงอายุกลับน้อยลงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการขาดอุปกรณ์และทักษะการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การศึกษาแบบ Two group pretest - posttest design ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้นวดยางยืดในผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานีและพัฒนาไม้นวดยางยืด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่อายุ 60– 79 ปี จำนวน 35 คน คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจงกลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการ จับคู่โดยใช้เกณฑ์ เพศและอายุ ในสัดส่วนที่เท่ากัน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษา18 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 17 คน ใช้ระยะเวลาศึกษา 4 สัปดาห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้สัมภาษณ์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และchi-square test, Wilcoxon signed rank test , Kruskal wallis test
ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุ มีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์การออกกำลังกายในระดับมาก โดยในเฉพาะเรื่องของ ขนาดโดยรวมของไม้นวดยางยืดและพกพาสะดวก และประสิทธิผลของโปรแกรมพบว่า ความรู้การออกกำลังกายและทักษะการออกกำลังกายด้วยไม้นวดยางยืดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05 และ p-value < 0.01 ตามลำดับ) ส่วนสมรรถภาพร่างกายของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการขยายผลและประยุกต์ใช้ไม้นวดยางยืดกับผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นๆและควรเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาประสิทธิผลในการศึกษาครั้งต่อไป
References
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ.นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ชลธิชา จันทศีรี. (2558).ผลของโปรแกรมการใช้เพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำ
ไม้พลองต่อความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพความดันโลหิตสูง และความผาสุก
ในชีวิตของผู้สูงอายยุโรคความดันโลหิตสูง. ค้นจาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/ Nubuu/
article/view/45782.
ชํานาญ ผึ่งผาย. (2550). ผลของการนวดแผนไทยประยุกต์ต่อการผ่อนคลาย คณะวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ค้นจาก https://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spo_Coa/ Chamnan_P.pdf.
ดวงกมล วัตราดุล และคณะ. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อความรู้
เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.ค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/
8532.
ธิดารัตน์ ทรายทอง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลสถานการณ์ อิทธิพลระหว่างบุคคล
ความมุ่งมั่นต่อการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายของสมาชิกกลุ่มออก
กำลังกายในจังหวัดพังงา. ค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/1660.
ปณิตา ชะบำรุง. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เพื่อ
การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปิยะพล พูลสุข และคณะ. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริหารข้อเข่าด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อ
บรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม.ค้นจากhttps://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb
/detail/index/189.
นิตยา สุขชัยสงค์ และปาหนัน พิชยภิญโญ. (2554). การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมในการส่งเสริม การออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร.ค้นจาก https://www.ph.mahidol.ac.th/
phjournal.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). วิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพช่วยเพิ่มคุณค่าการดูแล
สุขภาพประชาชน.ค้นจาก https://thaitgri.org.
วรวัฒน์ พวงยอด. (2553). ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำไม้พลองและยางยืดที่มีผลต่อ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและแขนในผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุของศูนย์สาธารณสุขประชานิเวศ 17 ประชานิเวศ 1 เขตจตุจักรคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือการ
สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. ม.ป.ท.
วิไลพร คลีกร. (2550). ประสิทธิผลของการออกกำลังกายด้วยไม้พลองประยุกต์ศิลปะพื้นบ้าน
ของ ผู้สูงอายุอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต่อความ
แข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ คณะวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริน
ทรวิโรฒ.ค้นจากhttps://ir.swu.ac.th/xmlui/handle/123456789/3695.
วุฒิชาติ ชาตะรูปะชิวิน. (2557). การศึกษาและพัฒนาแผ่นรองปูพื้นพกพาอเนกประสงค์เพื่อ
นวดการนวดกดจุดผ่อนคลายด้วยตัวเองสาหรับผู้สูงอายุคณะศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ค้นจากhttps://ir.swu.ac.th/xmlui/handle/123456789
/3695.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของประชากร
และสุขภาพจิต พ.ศ. 2554. ค้นจากhttps://service.nso.go.th/nso/nsopublish/
themes/files/exerFull54.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2557. ค้นจาก
https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/older57.pdf.
Moore, Carter, Nietert, and Stewart.(2012). Recommendations for Planning Pilot
Studies in Clinical and Translational Research.ค้นจากhttps://www.ncbi.nlm.
nih.gov/pubmed/22029804.
Windsor, Clark, Boyd, and Goodman. (2004).Evaluation of Health Promotion, Health
Education,and Disease Prevention Programs. The McGraw-Hill Companies.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข