ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วีนัส สาระจรัส โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง, การสนับสนุนการจัดการตนเอง, อัตราการกรองของไต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังในโรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี ที่อัตราการกรองของไตระหว่าง 60-89  มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตรอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 รักษาด้วยยากินเท่านั้นสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 60 ราย จากการประมาณขนาดตัวอย่างแบบทดสอบสมมติฐานทางเดียวด้วยโปรแกรม G*power 3.1.9.2 effect size 0.69 อำนาจการทดสอบเท่ากับ .80 ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 27 คนต่อกลุ่ม เพิ่มร้อยละ10 เป็น 30 ราย จากนั้นสุ่มเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือในการทดลองได้แก่กระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองที่ประยุกต์จากแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง 12 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน แนวทางจัดการตนเอง ผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยง กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายและวิธีปฏิบัติ สัปดาห์ที่ 2 เยี่ยมบ้าน สัปดาห์ที่ 4 และ 6 โทรศัพท์ติดตามเป้าหมายและวิธีปฏิบัติ สัปดาห์ที่ 12 ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและพฤติกรรมการจัดการตนเอง เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ค่าความเที่ยง 0.81 และผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ อัตราการกรองของไต ฮีโมโกลบินเอวันซี ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง และค่าความดันโลหิต ประเมินผลก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 1 และ 12 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test,Wilcoxon Signed-Ranks Testและ Mann-Whitney U Test

ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองและค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต                 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุปได้ว่ากระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอ  ไตเสื่อม มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการตนเอง ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซี และค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต

References

กันตาภารัตน์ อ้วนศรีเมือง, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และสุพัตรา บัวที. (2556). ผลของโปรแกรมการ
จัดการตนเองต่อความรู้ การจัดการตนเอง และดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ระยะที่ 3. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(2), 91-99.
จุฑามาส จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่อง
เบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 70-83.
ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2017).ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วย
เบาหวานและความดันโลหิตสูง. The Journal of Baromarajanoni College of Nursing.
Nakhonratchasima. 23(2). 2017. 94-106.
พรเพ็ญ ศรีสวัสดิ์. (2550). Glycated hemoglobin standardization. วารสารเทคนิคการแพทย์, 35
(1), 1763-66.
สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. (ม.ป.ป.). “ไตของเรา เราต้องรู้” (ม.ป.ท.).
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อน การบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558. ม.ป.ท.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลด
โรคไตเรื้อรัง CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการ
โรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ชุดรูปแบบบริการในการป้องกัน
ควบคุม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง สำหรับสถานบริการ.
กรุงเทพฯ : องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. (2560). แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2561, จาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file_download/file_ 20180522102008.pdf
ศิริลักษณ์ ถุงทอง, ทิพมาส ชิณวงศ์ และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2015). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. Songklanagarind Journal of Nursing, 35(1), 67-84.

อัมพร จันทชาติ, มาลี มีแป้น และ เพ็ญศรี จาบประไพ. (2560). การพัฒนารูปแบบการ พยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 280-291.
Kanfer, F.H., & Gaelick-Buys, L. Self management methods. In F. H. Kanfer, & A.
Goldstein (Eds.) ?Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon. 1991. Pp 305-360.
Methakanjanasak, N. Self-managementof End-stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis. (Thesis). Chiang Mai University; 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-21