ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับสภาวะช่องปากและพฤติกรรมการดูแล ทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ทัศนวัฒน์ ฉายชูวงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
  • นิมมานรดี ชูยัง

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และสภาวะช่องปาก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพกับสภาวะช่องปากของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประชากรคือ นักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 393 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร Yamane ได้จำนวน 199 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบตรวจสภาวะช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ (Chi-square Test)              ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 41.7 และมีคะแนนทัศนคติอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.3 เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้และทันศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการแปรงฟัน (r=0.222 และ r=0.222 ตามลำดับ) และพบว่าความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเกิดโรคฟันผุ (r=0.315 และ r=0.268 ตามลำดับ)

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2555. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7
เนตรนารี พุกรอด. 2559. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในจังหวัดยะลา
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตรัง. 2558. ผลการสำรวจทันตสุขภาพของจังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. 2559. จำนวนประชากรมัธยมศึกษา จังหวัดตรัง
สำนักงานระบบสถิติทางการทะเบียน. 2558. จำนวนของเด็กมัธยมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26