ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • รุ่งสุรีย์ ชูช่วงโชติ
  • รำไพพรรณ บุญชู
  • จิรวรรณ สังข์สกุล

คำสำคัญ:

การบริหารยาปฏิชีวนะ, การป้องกันการติดเชื้อ, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

             การบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดถือว่ามีความจำเป็นสำหรับผู้รับการผ่าตัดเพื่อการป้องการติดเชื้อหลังการผ่าตัดซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 30-60 นาทีเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในบางกรณีการบริหารยาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ข้างต้นและไม่ทราบผลกระทบที่ตามมา ในงานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลา และ เพื่อศึกษาผลของการบริหารยาปฏิชีวนะตามเกณฑ์ (30-60 นาที) และไม่ตามเกณฑ์ (น้อยกว่า 30 นาที) ก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อการติดเชื้อของแผลผ่าตัดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลา จำแนกตามประเภทการได้รับยาระงับความรู้สึก  ประชากรที่ใช้ คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสงขลา  จำนวน  67  ราย  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระยะเวลาการบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดฯ  วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติไคว์สแควร์

            ผลการวิจัยพบว่าชนิดยาระงับความรู้สึกไม่มีมีผลต่อระยะเวลาบริหารยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มากไปกว่านั้นในการศึกษาระยะเวลาบริหารยาปฏิชีวนะกับการติดเชื้อแผลผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยทุกรายไม่ติดเชื้อแผลผ่าตัดแม้บริหารยาปฏิชีวนะน้อยกว่า 30 นาที  ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากทีมผ่าตัดปฏิบัติตามมาตรฐานการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัด  การควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อของร่างกาย  การปฏิบัติตามมาตรฐานห้องผ่าตัด การปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  เพื่อลดการติดเชื้อแผลแผลผ่าตัด

References

Boondhum, P. (2009). Antibiotic in Surgery: Antibiotic Prophylaxis. Royal Thai Army Medical Journal. 62,3: 149-151. (In Thai)
Dongrit, D. (2007). Medicine and infectious diseases. Bangkok: News thaimirt Printing. (In Thai)
Jankunapas, W. & Siriaree, S. (2017). Prevention of surgical site infection. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 29,2 : 15-18. (In Thai)
Jareancholvanich, K. (2016). What is the article of artificial knee replacement surgery?. Retrieved from www.samitivejchinatown.com. March,5, 2018. (In Thai)
Kanchanavanichkul, A. (2009). General Anesthesia. Songkhla: Charlmuang Printing. (In Thai)
Luacharassami, P. (2016). Particular anesthesia treatment by intramuscular injection (SpinalAnesthesia). Retrieved from http://med.cmu.ac.th/dept.Anes/2016/Spinal Anesthesia. March, 4, 2018. (In Thai)
Saringkarinkul, A. (2012). Complications from providing anesthesia throughout the body. Retrieved from http://med.cmu.ac.th/dept.anes. March, 20, 2018. (In Thai)
Soriano A, Bori G, Garcia-Ramiro S, Martinez-Pastor JC, et al. (2008). Timing of Antibiotic Prophylaxis for Primary Total Knee Arthroplasty Performed during Ischemia. Clinical Infectious Diseases. 46, 1009–14.
The Royal College of Orthopedic Surgeons of Thailand. (2011). Service guidelines for public health Osteoarthritis: Total Knee Arthroplasty. Retrieved from http://www.chiangmaihealth.go.th. March, 22, 2018
The Royal College of Anesthesiologists of Thailand. (2015). Anesthesia standards. Retrieved from http://enesthai.org. March, 2, 2018.
Thanapongsadhon, W. (2006). Surgical infection. Retrieved from http://tcithaijo.org/index.php/RNJ/ article/ down-Load/19179/18380. March, 20, 2018.
Tongsuk, W. (2012). Academic revival texts Anesthesiology: Caring for patients receiving local anesthesia. Bangkok: Thana Place Ltd.
Wanasuwankul, T. (2009). Local Anesthesia. Songkhla: Charlmuang Printing.
Wongsiri, K. (2015). Surgical location infection effect. Retrieved from http://med.cmu.ac.th. March, 5, 2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29