ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน ของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • Natapong Kongmai
  • Ubontip Chaisang 0894636605
  • Salil Kajkumhaeng
  • Niwat Chaisang

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 - 5 ปี จำนวน 110 คน รวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi - square และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ปกครองเป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.8 อายุ 30 - 39 ปี ร้อยละ 50.9 มีบุตรหลานอยู่ในช่วงอายุ 4 ปี ร้อยละ 47.3 รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ร้อยละ 62.8 ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือปวช. ร้อยละ 55.4 อาชีพหลักประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 36.4 มีความสัมพันธ์กับเด็กเป็นบิดา มารดา ร้อยละ 88.2 ผู้ปกครองไม่เคยรักษาทางทันตกรรม ร้อยละ 58.2 และเด็กส่วนเคยได้รับการทาฟลูออไรด์ ร้อยละ 55.5 ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 60.9 มีทัศนคติ พฤติกรรม และการเข้าถึงเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนระดับปานกลาง ร้อยละ 62.7, 82.7 และ 74.5 ตามลำดับ และมีการได้รับปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนระดับดี ร้อยละ 53.6 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศและทัศนคติของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

Bureau of Dental Public Health, Department of Health. (2013). Report of the national oral health survey 7th Thailand 2012. Bangkok: Veterans Organization of Thailand Press. (In Thai)
Dental Public Health Department, Ban Hua Thanon Health Promoting Hospital (2016). Summary form for dental health prevention and promotion in preschool children, Child Development Center Kindergarten 2016. Ban Hua Thanon Health Promoting Hospital, Chamuang Subdistrict, Khuan Khanun District, Phatthalung Province.(In Thai)
Nusrian, N. (2011). Dental caring behavior for preschool children aged 3 - 5 years of parents in the Child Development center, Wang Hin Lat Subdistrict, Chum Phae District, Khon Kaen Province (Independent Study in Bachelor of Public Health, Mahasarakham University).
PengMuso, A. (2011). Factors related to parental practice regarding dental health care of preschool children in Colo Tanyong Subdistrict, ,Nong Chik District, Pattani Province. Special project Bachelor of Science Degree Community Health Program, Sirindhorn College of Public Health Yala Province.
Phatthalung Provincial Health Office. (2015). Result of dental health promotion in children 0 - 12 Years, 2015. Phatthalung Provincial Health Office. (In Thai)
Rakthao, U and Wongvej, C. (2015). Knowledge, attitude and behavior of parents towards oral care for preschool children: Journal of the College of Nursing and Public Health Network, Southern Region. Songkhla: Tempe Printing.(In Thai)
Suphanakun, P. (2014). Public Health Research Data Analysis with SPSS Program. 1st edition Phitsanulok: Thai family printing house. (In Thai)
Siripornwiwat, P. (2009). Factors influencing the effects of oral health care on preschool children,Srisaket Province. Master of Public Health Thesis, Health Promotion Program, Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Silawong, S. (2011). Attitude and practice regarding oral health care in preschool children of parents in the Child Development Center. Nong Bua Dong Subdistrict, Sila Lat District, Sisaket Province. Independent Study in Bachelor of Public Health, Mahasarakham University.
Tirakanan, S.. (2008). Research Methodology in Social Sciences: Guidelines for Practice. 7th edition, Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.(In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-12