การศึกษากิจกรรมทางกายของครูในโรงเรียนมัธยม กรณีศึกษา ครูโรงเรียนมัธยมเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

-

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ ดำขำ คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พรศรี งามรวี
  • ภคิน ไชยช่วย

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, ครู, โรงเรียนมัธยม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์กิจกรรมทางกาย และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับกิจกรรมทางกาย ของครูโรงเรียนมัธยมในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือครูโรงเรียนมัธยมในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 120 คน จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงเรียนมัธยมในอำเภอวารินชำราบ ปีการศึกษา 2561เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตรวจสอบความตรงเชิงเน้อหาโดยวิธี IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้เท่ากับ 0.92 และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นภาพรวมเท่ากับ .804 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ ไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า 1.) สภาพการณ์กิจกรรมทางกายพบว่า ส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายที่มีการเคลื่อนไหวออกแรงในงานบ้านงานสวน หรือดูแลคนในครอบครัวที่บ้านระดับหนัก ร้อยละ 63.33 รองลงมาคือ กิจกรรมทางกายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกายระดับหนัก ร้อยละ 49.17 และการมีกิจกรรมทางกายที่มีการเคลื่อนไหวออกแรงการทำงานที่เกี่ยวกับอาชีพระดับหนักร้อยละ 47.50  2.) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับกิจกรรมทางกายพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกาย

คำสำคัญ: กิจกรรมทางกาย ครู โรงเรียนมัธยม

References

ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร (2556). การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณีปีการศึกษา 2554.ปริญญานิพนธ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศาสตร์.
กุลธิดา เหมาเพชร. (2555). พฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. วิจัยคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกําลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ.
บุศรินทร์ ชลานุภาพ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคคลวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิจัยการศึกษาเฉพาะบุคคลการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ถวัลย์ แต่งไทย. (2552). พฤติกรรมและความต้องการออกกำลังกายของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สินธิป พัฒนะคูหา. (2558). ผลจากการลดกิจกรรมนั่งๆนอนๆต่อปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง. วิจัยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หมอชาวบ้าน. ชีวิตเนือยนิ่ง (Sedentary life). (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ17 กุมภาพันธ์ 2561). จาก https://www.doctor.or.th.
ไทยพีบีเอส. พฤติกรรมเนือยนิ่ง คุกคามคนไทย เสี่ยงป่วยโรคเรื้อรั้ง. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561). จาก https://news.thaipbs.or.th.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.แบบสอบถามสำหรับเด็กอายุ 14 – 17 ปี การสำรวจกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2558. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 11 มีนาคม 2561) จากhttp://www.parc-thaihealth.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11