ผลของยาสมุนไพรบำรุงน้ำนมต่อระดับการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ จันทร์แก้ว Sangkha hospital 700 m.1 sathon road sangkha surin
  • ธิดารัตน์ นฤมิตมนตรี

คำสำคัญ:

ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม, ยา Domperidone, ระดับการไหลของน้ำนม, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการไหลของน้ำนมระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรบำรุงน้ำนมกับกลุ่มที่ได้รับยา Domperidone  กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่หอสูตินารีเวชกรรม โรงพยาบาลสังขะ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้การเลือกแบบ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ random allocation จำนวน 54 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม และกลุ่มที่ได้รับยา Domperidone  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกระดับการไหลของน้ำนม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ 0.80 ทดสอบหาความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตของแบบประเมินการไหลของน้ำนมได้ค่าเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-Tests 

ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของระดับการไหลของน้ำนม ที่ 24, 32, 40 และ 48 ชั่วโมงหลังคลอด พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม เท่ากับ 1.41,  2.00, 2.26 และ 2.52 ตามลำดับ และกลุ่มที่ได้รับยา Domperidone  เท่ากับ 1.04, 1.44, 1.70 และ 2.32 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระดับการไหลของน้ำนมในชั่วโมงที่ 32 และ 40 หลังคลอด  พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม มีประสิทธิผลทำให้มีปริมาณน้ำนมมาก และน้ำนมมาเร็วกว่าได้รับยา Domperidone ที่ 32 และ 40 ชั่วโมงหลังคลอด เพิ่มโอกาสให้มารดาหลังคลอดที่น้ำนมไม่ไหล หรือไหลน้อยที่ 24 ชั่วโมงหลังคลอด มีน้ำนมไหลเพิ่มมากขึ้น

References

Burns, N., and Grove, S. K. (2005). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique, and

Utilization (5thed). Philadelphia: W.B. Saunders.

Chaiohas, P., Rotjananirunkit, N., Boonprasert, C. (2009). The Effect of Whole Milk Supplement on

Breast Milk Volume in 48-hour Postpartum Mothers in Ramathibodi Hospital. Rama Nurs

Journal. 15 (1). 25-35. (In Thai)

Masea, M., Kala, S., Chartchawe, W. (2019). Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection

of First-Time Mothers. Princess of Naradhiwas University Journal. 11 (3). 1-14. (In Thai)

Meepradit, K. (2011). Effect of Postpatum Herbal of Kab Choeng Hospital, Surin Province (Master’ s

thesis). Nakhon Pathom. Silpakon University. (In Thai)

Mututamara, S., Chusilp, K., Suthasanaworawut, U., Saengthaweesin, W., Haengchaowwich, Y.

(2012). Breastfeeding Textbook (1st ed). Bangkok: Thai Breastfeeding Center Foundation.

(In Thai)

Puapornpong, P. (2014). Breastfeeding Assessment. Journal of Medicine and Health Sciences.

(1). 4-15. (In Thai)

Srisuvapan, A. (2012). Effect of Ginger Drink on the Starting of Lactation Period in Postpartum

Women. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital. 27 (3). 223-250. (In Thai)

Tunpratuang, K. (2017). Effecriveness Comparison between Domperidone and Galactagogue on

Stimulating Milk of Maternal Postpatum with Caesarean Section. Udonthani Hospital

Medical Journal. 25 (2). 130-135. (In Thai)

UNICEF Thailand and The Thailand National Statistical Office (NSO). (2017). THAILAND Multiple

Indicator Cluster Survey 2015-2016. Retrieved 8 July 2019, from

https://www.unicef.org/thailand/th/reports/

Wannaphat, M., Suthutvoravut, S., Suwikrom, S. (2018). Effectiveness of Domperidone in

Augmenting Breastmilk Production Measured by Manual Expression in Postpartum Women

at Chareonkrung Pracharak Hospital. Ramathibodi Medical Journal, 41 (1). 17-25. (In Thai)

Wikipedia, the free encyclopedia. (2018). Domperidone. Retrieved 8 July 2019, from

https://th.wikipedia.org/wiki/Domperidone

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11