ประสิทธิผลของการเหยียบถุงประคบสมุนไพรกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • Wannisa Raksamat 086-0371967
  • Panom Thongon

คำสำคัญ:

การเหยียบถุงประคบสมุนไพร การแช่เท้าในน้ำสมุนไพร อาการชาเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อเปรียบเทียบอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการเหยียบถุงประคบสมุนไพรระหว่างก่อนกับหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรระหว่างก่อนกับหลังการทดลอง 3) เพื่อเปรียบเทียบอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการเหยียบถุงประคบสมุนไพรกับกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานและมีอาการชาเท้าตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป แต่ไม่เกิน 7 จุด เข้ารับการดูแลรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน 2) ข้อมูลการเจ็บป่วยและประวัติการเป็นโรคเบาหวาน 3) แบบบันทึกอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วยด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการวิจัย และด้านสาธารณสุข หาค่าความเชื่อมั่นของแบบบันทึกข้อมูลได้เท่ากับ 0.93  วิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบ paired-samples t-test และ independent t-test

            ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการเหยียบถุงประคบสมุนไพร และกลุ่มที่ได้รับการนวดเท้าร่วมกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพร หลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยระดับอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้การนวดเท้าร่วมกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพร แตกต่างจากผู้ป่วยเบาหวานที่ได้การนวดเท้าร่วมกับการเหยียบถุงประคบสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ใจเพชร กล้าจน. (2553). องค์รวมเทคนิคสุขภาพพึ่งตนเองแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์
ทางเลือกวิถีพุทธ (บุญนิยม). เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2548). การพัฒนาเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินหลักสูตร.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภัทราภรณ์ คุณแขวน. (2556). การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยสมุนไพร. (รายงานการวิจัย). ศรีสะเกษ :
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแซรไปร ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ.
ศศินี อภิชนกิจ และจารุวรรณ พาณิชย์พันธุ์. (2552). ประสิทธิผลของการนวดเท้าด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์
แผนไทยเพื่อลดอาการเท้าชาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุดรธานี. (รายงานการวิจัย). อุดรธานี :
งานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลอุดรธานี.
สงัด ธรรมรักษา. (2556). ประสิทธิผลของลูกประคบสมุนไพรต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้า
คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลนายูง จังหวัดอุดรธานี. (ปริญญานิพนธ์การแพทย์แผนไทยบัณฑิต).
นนทบุรี : วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันสมทบคณะ
ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
สุทธิภัทร ทรรศนีย์ทะนงจิต. (2555). ผลของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชา
ปลายเท้าโรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก. (ปริญญานิพนธ์การแพทย์แผนไทยบัณฑิต). นนทบุรี :
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันสมทบคณะทรัพยากร
ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
สุริยา ณ นคร และวรันยา พวงพงศ์. (ม.ป.ป.). การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม
2562, ค้นจาก http://www.Baanjomyut.com/library_2/water_for_health/07.html
สุไลมาน เยะมูเร็ง. (2557). ผลของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรต่ออาการชาเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากน้ำท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี.
(ปริญญานิพนธ์). นนทบุรี : วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.
สมลักษณ์ หนูจันทร์. (2550). ผลนวดไทยและการกดจุดต่ออาการชาปลายเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26