แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปราจีนบุรี
Motivation Associated with Quality of Working Life among Health Personnel Practicing in Prachinburi Province.
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยคำจุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา(Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มประชากรคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 370 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 203 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยจูงใจ ส่วนที่ 3 ปัจจัยค้ำจุน ส่วนที่ 4 คุณภาพชีวิติการทำงาน และส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย ความสำเร็จของงาน, การได้รับการยอมรับนับถือ, ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ, ความรับผิดชอบ, ความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับสูง (=2.67, S.D.=0.47) ปัจจัยค้ำจุน ประกอบด้วย ด้านเงินเดือน, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, การปกครองบังคับบัญชา, นโยบายและการบริหาร, สภาพการปฏิบัติงาน, สถานภาพของวิชาชีพ, ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน, ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับสูง (=2.41, S.D.=0.50) ด้านคุณภาพชีวิติการทำงาน ประกอบด้วย การได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเพียงพอและยุติธรรม, สภาพแวดล้อมการทำงานดีมีความปลอดภัย, ความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน, การพัฒนาความสามารถของบุคคล, การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน, สิทธิของพนักงาน/ธรรมนูญในองค์การ, ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (=2.39, S.D.=0.52) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปราจีนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.41, P-value <0.01; r=0.74, P-value<0.01 ตามลำดับ)
References
จันทสุข บัญชาฤทธิ์. (2555). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของพนักงานสาธารณสุขในสองอำเภอนำร่องของนครหลวงเวียงจันทร์ สปป. ลาว. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุนจิตร ธุวสุจิเรข. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ทรรศนีย์ เจริญสุข. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานครูสังกัดกองศึกษาเทศบาลนครระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร. กรุงเทพฯ.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2552). แนวทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2552-2556. กรุงเทพฯ: แอร์บอร์นพรินต์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2554). กำลังคนภาครัฐ 2554 ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. (2561). สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2561.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons. John Wiley & Sons. 2010.
Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.
McCelland, David C. and Others. (1953). The Achievement Motive. New York : Spplenton Century Croffs, Inc.
McGregor, Douglas. (1960). The human side of enterprise. New York: McGraw-Hill.
Walton, R.E. (1974). Improving the Quality of Work Life. Harvard Business Review. May-June.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข