การเสียชีวิตบรรยากาศอันตรายจากโรงงานผลิตยางสกริมเครพ ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา

ผู้แต่ง

  • หทัยทิพย์ จุทอง The office of prevention and control 12 songkhla
  • สุณัฐฐา ผอมนุ้ย
  • จิราวรรณ บัวเชย
  • ฟิตริย๊ะ สาและ

คำสำคัญ:

Biogas, fermentation pond, hazardous atmosphere

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และหามาตรการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากบรรยากาศที่เป็นอัตราย โดยศึกษาข้อมูลการตายการบาดเจ็บ ผลการตรวจวัดปริมาณก๊าซ สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ สำรวจสิ่งแวดล้อมผลการศึกษา พบว่าสถานที่เกิดเหตุเป็นโรงงานผลิตยางสกริมเครพมีผู้ประสบเหตุจำนวน  5  คน  เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาลจำนวน  3  คนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลและเสียชีวิต  1  คน  ได้รับอันตรายเล็กน้อย จำนวน  1  คน  ได้จ้างเหมาบริษัทสิ่งแวดล้อมภาคใต้ ให้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย โดยผู้รับเหมาช่วงมารับงานสร้างบ่อพักน้ำเสียขนาดกว้าง 1.5 เมตร X ยาว 1.5 เมตร X ลึก 1.9 เมตร จำนวน 3บ่อเกิดเหตุจากผู้ควบคุมได้ให้คนงานรับเหมา 2คน ลงไปใส่ข้อต่อท่อน้ำในบ่อพักที่ 2 เพื่อชะลอการไหลของน้ำเสียจากบ่อคลุม(Covered Lagoon) สำหรับแก้ไขงานปูนบ่อพักที่3 ที่ทรุดตัว จากนั้นคนงานอีก 2 คนซึ่งเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุที่หลัง พบคนงานและผู้ควบคุมนั่งหมดสติพิงผนังอยู่ในบ่อทั้ง 3 คน คนงาน 1 คนซึ่งมาที่หลังจึงได้ลงไปช่วยและหมดสติในบ่อ รวมเป็น 4 คน คนงานอีกคนจึงได้รีบแจ้งโรงงานทันที  ผลการตรวจวัดก๊าซ  วันที่ 13 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 – 11.00.น. ด้วยเครื่อง Testo 350 ที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร จากปากบ่อเกิดเหตุ พบว่ามีก๊าซออกซิเจน 21 % (ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ) และก๊าซ Hydrogen sulfide (H2S) เฉลี่ย 18 ppm. และ  ซัลเฟอร์ไออกไซด์  (SO2)ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ OSHA  (Occupational Safety and Health Administration )  กำหนดไว้ ในขณะที่ตรวจไม่พบก๊าซมลพิษอื่นได้แก่ Carbon monoxide, Nitrogendioxide และ NOx   สำหรับขั้นตอนในการผลิตยางสกริมเครพใช้  กรดซัลฟุริก  H2SO4 เพื่อให้น้ำยางจับตัว  สรุปได้ว่าสาเหตุของการเสียชีวิตอาจเนื่องจากก๊าซที่เกิดจากน้ำเสียจากบ่อหมักชีวภาพที่มีก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบ  ผลกระทบไฮโดรเจนซัลไฟด์ 1000 – 2000 ppm. ทำให้หมดสติทันทีหยุดการหายใจและเสียชีวิตทันที ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5,000 ppm. อาจทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาที

คำสำคัญ : ก๊าซชีวภาพ ,บ่อหมัก,  สภาพอันตราย

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 [ออนไลน์ ]2562 [ สืบค้นเมื่อ 15
สิงหาคม 2562]; แหล่งข้อมูล:
http://122.155.89.37/index.php?option=com_content&view=article&id=1930%3A-m-
m-s&catid=1%3Anews-thai&Itemid=201.
Occupational Safety and Health Administration. OSHA Annotated PELs Occupational
Safety and Health Administration. [ออนไลน์ ]2562 [สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายาน 2562] ;
แหล่งข้อมูล: https://www.osha.gov/dsg/annotated-pels/tablez-2.html
คณาธิศ เกิดคล้าย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย สถานการณ์การเสียชีวิตและมาตรการป้องกัน
อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ [ออนไลน์ ] [สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562] ;
แหล่งข้อมูล: http://php.diw.go.th/safety/wpcontent/uploads/2014/05/Confined.pdf
ธรพงศ์ จันทรวงศ์และณัฐพงศ์ แหละหมัน. รายงานการสอบสวนการเสียชีวิตของลูกเรือประมง ณ.
แพองค์การสะพานปลา จังหวัดภูเก็ต.2550;(อัดสำเนา).
เอมอร ไชยมงคลมงคล รายงานการสอบสวนกรณีลูกเรือประมงเสียชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
2550 (อัดสำเนา).
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบการผลิต
การควบคุมคุณภาพและการใช้ก๊าซชีวภาพ(Biogas)สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม.[ออนไลน์ ] [สืบค้น
เมื่อ 15 สิงหาคม 2562] ;แหล่งข้อมูล: http://www.diw.go.th/km/safety/pdf/biogas_2.pdf
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานความปลอดภัยในการผลิตและการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ ฉบับปรับปรุง ธันวาคม 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17