พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิทยา ศรเเก้ว Chang Klang Public Health Office, Nakon Sri Thammarat

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 377 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม 2563 สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบ Systematic random sampling สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Spearman rank correlation coefficient, Chi-square, และ Cramer’s V

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 87.26) คะแนนเฉลี่ย 2.65 (SD=0.24) โดยข้อที่มีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การกำจัดขยะและภาชนะที่ไม่ใช้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน คะแนนเฉลี่ย 2.86 (SD=0.39) ข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ การแขวนเสื้อผ้าไว้ตามฝาผนัง คะแนนเฉลี่ย 2.10 (SD=0.73) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา (P=0.041) อายุ (P=0.002) และรายได้ต่อเดือน (P=0.012) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (P>0.05) ได้แก่ เพศ สถานภาพการสมรส อาชีพ การมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในบ้านที่อาศัย ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรให้ผู้นำชุมชนและประชาชนได้มีส่วนร่วมในชุมชนในดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดีแบบยั่งยืนต่อไป

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ไข้เลือดออก. นนทบุรี: คุรุสภา ลาดพร้าว.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. กรุงเทพมหานคร.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง. (2562). รายงานประจำปี 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
นครศรีธรรมราช.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ ฯ:
บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค
ไข้เลือดออก ของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2). 84-91.
ชลิต เกตุแสง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของ
ประชาชน อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข
ภาคใต้. 2(1). 24-36.
Best,John W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewod cliffs: N.J. Prentice-Hall.
Bloom, B. S. (1986). Learning for Mastery Evaluation Comment. Center for the Study of
Instruction Promgrame. Univercity of California at Los Angeles.
Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and
Row Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-08