ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย วัณโรคปอดรายใหม่ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พิมาน ธีระรัตนสุนทร สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ซัลวา สีเดะ สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ฐิติยาภรณ์ คงตุก สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อณน หมัดอารี สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์ สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • บุบผา รักษานาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

วัณโรคปอดติดเชื้อ, ผู้ป่วยรายใหม่, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยรายใหม่ในคลินิกผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 141 ราย ในช่วงเดือนมกราคม - ธันวาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามและแบบคัดลอกเวชระเบียนบันทึกข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นประเภทผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 91 ประเภทเป็นซ้ำ ร้อยละ 6.3 กลับมารักษาอีก ร้อยละ 1.4 รักษาใหม่ขาดยาและการส่งต่อ ร้อยละ 0.9 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ ร้อยละ 85.8 เป็นเพศชายร้อยละ 75.2 อายุเฉลี่ย 49.28 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 76.8 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 39.7 การศึกษาสูงสุดจบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 63.7 มีรายได้เฉลี่ย 9,457.4 บาทต่อเดือน เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 52.9 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 31.4 มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ ถุงลมโปร่งพอง ร้อยละ 30.6 มีการสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคและมีอาการเริ่มแรกของผู้ป่วย ร้อยละ 28.9 ไอเรื้อรัง ร้อยละ 84.3 มีไข้ ร้อยละ 37.5 อ่อนเพลีย ร้อยละ 13.8 น้ำหนักลด มีเหงื่อออกกลางคืน ร้อยละ 76.9 การรักษาและดูแลตนเองเมื่อป่วยโดยไปโรงพยาบาลของรัฐ ร้อยละ 50.7 ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเองผ่านทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 64.5 การเดินทางไปรักษาตัวเองโดยใช้มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 50.7 ส่วนใหญ่เดินทางไปเองคนเดียวร้อยละ 77.6 ระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการโดยเฉลี่ย 11.06 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลแต่ละครั้งเฉลี่ย 194.86 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่ายาและการรักษาพยาบาล เหตุผลที่ไม่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเพราะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรควัณโรค ร้อยละ 71.4 และคิดว่าวัณโรคปอดไม่เป็นอะไรมาก ร้อยละ 64.3 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ส่วนใหญ่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัณโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.9 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 45.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ช่วงอายุ ระยะทาง ค่าใช้จ่ายในการมาโรงพยาบาล และผู้พามาที่โรงพยาบาลเพื่อการรักษา (P=0.037, 0.048, 0.005, และ 0.021 ตามลำดับ) ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาคุณภาพชีวิต การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกและการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยตลอดจนการเฝ้าระวังผู้ป่วยวัณโรคปอดติดเชื้อรายใหม่ 

 

 

References

Butsorn A, Suggaravetsiri P, Tessana N. (2010). Delay of treatment among new smear–positive pulmonary tuberculosis patients in Thai-Cambodia border: case study in SurinandSisaket Province, Thailand. Research. Journal of Medical Sciences, 4, 340-305. (in Thai)

Cai, J., Wang, X., Ma, A., Wang, Q, Han, X., & Li, Y. (2015). Factors associated with patient and provider delay for tuberculosis diagnosis and treatment in Asia: a systematic review and meta-analysis. PLoS ONE, 10(3), 1-22.

Department of Disease Control. (2021). Tuberculosis Situation and Surveillance, Extensively drug-resistant Tuberculosis in Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Li, Y., Ehiri, J., Tang, S., Li, D., Bian, Y., Lin, H, et al. (2013). Factors associated with patient, and diagnostic delays in Chinese TB patients: asystematic review and meta-analysis. BMC Med, 11, 156- 171.

Makwakwa, L., Sheu, M., Chiang, C.Y., Lin., S.L., & Chang, P.W. (2014). Patient and health system delays in the diagnosis and treatment of new and retreatment pulmonary tuberculosis cases in Malawi. BMC Infect Dis J, 14, 132-41.

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2020). Annual Report 2020: Tuberculosis Situation Report 2020. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)

Pongvong, Ch., Suggaravetsiri, S., & Trinnawoottipong, K. (2017). Factors associated with patient’s delay of treatment among new smear positive pulmonary tuberculosis patients in North-Eastern Thailand. The Office of Disease Prevention and Control 7th Khon Kaen, 24, 36–46. (in Thai)

Word Health Organization. (2020). Global tuberculosis report 2020. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22