บทความการพัฒนา การพัฒนารูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชสำหรับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างโรงพยาบาลหาดใหญ่

รูปแบบการบริหาร

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ นวลแย้ม 139/36 hatyai songkhla
  • นวรัตน์ ไวชมภู

คำสำคัญ:

ศาสตร์มณีเวช, ปวดหลังส่วนล่าง, ระดับความเจ็บปวด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 15 ราย โดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ขั้นตอนการสร้างรูปแบบ และ 3) ขั้นตอนการประเมินประสิทธิผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ รูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ 2) การเสริมพลังอำนาจ 3) การสาธิต 4) การสาธิตย้อนกลับ และ 5) การติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินอาการปวดโดยใช้มาตรวัดความปวดแบบตัวเลข และ3) แบบสอบถามทุพพลภาพโรแลนด์–มอร์รีส วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ เปรียบเทียบระดับคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่างของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. สภาพคือผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างไม่มีความรู้เรื่องมณีเวช ปัญหาคือขาดความต่อเนื่องของการบริหารร่างกายเนื่องจากจำท่าไม่ได้และไม่เห็นความสำคัญของการบริหารร่างกาย ความต้องการคืออยากบริหารร่างกายให้ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง อยากให้มีคนคอยชักชวนที่ทำ อยากให้มีเอกสารท่าบริหารกลับบ้านเพื่อได้ดูและทบทวนและให้มีการติดตามอาการเป็นระยะๆ
  2. 2. รูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง ประกอบด้วย1) การให้ความรู้ 2) การเสริมพลังอำนาจ 3) การสาธิต 4) การสาธิตย้อนกลับและ 5) การติดตามผล
  3. 3. กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่างหลังการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชในสัปดาห์ที่ 1และสัปดาห์ที่ 4 ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามทุพพลภาพโรแลนด์–มอร์รีส หลังจากการรักษาไป 4 สัปดาห์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

            จากการศึกษานี้มีกระบวนการพัฒนารูปแบบขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและเกิดผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพิ่มขึ้น แสดงถึงการกำหนดรูปแบบที่ชัดเจนช่วยเพิ่มคุณภาพการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

References

Anawat Rakwannawong. (2008). Factors in Patients with Low Back Pain Attending Bang Pla Ma

Hospital, Suphanburi Province . Journal of Health Systems Research, 2(1): 978-84. (in Thai)

Grovle L, Haugen AJ, Keller A, et al. The bothersomeness of sciatica: Patients’ self-

report of paresthesia, weakness and leg pain. Eur Spine J 2010; 19(2): 263-9.

Hartvigsen J, Leboeuf YC, Lings S, Corder EH. Is sitting-whileat-work associated with low back

pain A systematic critical literature review. Scand J Publ Health 2000;28(3):230–9.

Jiratchaya Nakrit. (2012). The application of complementary and alternative medicine for the

treatment of lung cancer in Thailand a review article with case study. Degree of Master of Science Faculty . Mae Fah Luang University, Chiang Rai. (in Thai)

Kanchana Nimtrong , Nongnut Oba,& Artit Laoruengthana. (2012). Effectiveness of Educative

Supportive Program on Self-Care Behaviors and Pain Level among Patients with Chronic Low Back Pain. Journal of Nursing and Health Sciences, 6(2): 99-109. (in Thai)

Kunnatee Poomsanguan, R.N., M.S., PhD.(2014). Health Empowerment: Nurses’ Important Role.

Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3): 86-90. (in Thai)

Luomajoki H, Bruin ED, Airaksinen O. Improvement in low back movement control, decreased

pain and disability, resulting from specific exercise intervention. J SMARTT2010; 2:1-7.

Nucharat Moolmaungsan, Nichapat Phutthikhamin, & Rungthip Puntumetakul (2013). The

Effects of Home-Based Exercise Program on Pain, Disability, and Lumbar Mobility in the Patients with Non-Specifi c Low Back Pain. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-eastern division, 31(3): 107-15. (in Thai)

Nophadol Ningsanond . (2011). Maneeveda for a simple, easy life. Srinakharinwirot University

Journal (Science and Technology Program), 3(1): 1-12. (in Thai)

Orapin trato & Phayom Udomkam. (2012). Effectiveness of Maneevede Exercises on Manage

ment of back pain in Maneevede Clinic, Photharam Hospital Ratchaburi. Journal

Photharam Hospital ; 86-95. (in Thai)

Payoongsri Uthairat. (2009). The Effect of Symptom Management With Rebalancing Body Struc

ture Program on Low Back Pain. Degree of Master of Nursing Science Program in Nursing Science Faculty of Nursing Cholalongkorn University. (in Thai)

Suphattra Detchakan, Teeranut Harnirattisai, & Thongchai Suntharapa (2013). The effects of a

back rehabilitation program on self-efficacy for physical activity, pain, and flexibility of muscles among persons with low back pain. Thammasat Medical Journal, 14(3): 513-23. (in Thai)

Sukanya Aungsirikul, Nam-oy Pakdevong,& Varin Binhosen. (2016). Factors Related to Health

Promotion Behaviors In Patients with Low Back Pain. The Jounal of Facultyv of Nursing Burapha University, 24(1): 39-50. (in Thai)

The Burden of Musculoskeletal Diseases in the United States. Low back pain

[Internet]. [cited 2016 July 29]. Available from: http://www. boneandjointbur-den.org/2014-report/ii/spine-low-back-and-neck-pain.

The Royal College of Internal Medicine of Thailand and the Professional Association .(2105).

Guidelines for the treatment of lower back pain. [Internet]. [cited 2016 May 20] From:http://www.rcpt.org/index.php/news/2012-09-24-09-26-20.html.

Wijittra Chaopanon, Suwanna Wipak Songkhro,& Salinee Thaitawat. (2009). The effect of

empowerment The power of preparation for spine surgery patients on knowledge,

perception, andPerform to recover after surgery. Journal of Nursing Division, 36(2):

-45.

Wittawat Sithiwatcharapong. (2015). Effectiveness of Maneevej Exercise for Reducing Work

Related Musculoskeletal Syndrome in Office Workers [Internet].[cited 2016 August 12] from:http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/File_PDF/research56/Proceeding56_39.pdf

Yotsak Hanchanlert. (2014). Effectiveness of Education Program on Correct Posture and Daily

Exercise in Reducing and Preventing Back Pain in Patients with Chronic Low Back Pain, Kuean Sub-district, Kosumpisai District, Mahasarakam Province. Journal of Health Sci-ence, 23(4): 601-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21