พฤติกรรมสุขภาพ (3อ. 2ส.) และแนวทางการจัดการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, การสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ตามหลัก
3อ.2ส. และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2561 ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยอิงเนื้อหาจากพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขตามหลัก 3อ.2ส. และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน โดยการอภิปรายกลุ่ม ผลการวิจัยจากข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ และการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 76.6 76.6 75.0 62.9 และ 57.3 ตามลำดับ มีเจตคติต่อการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 50.8 67.7 และ 58.1 ตามลำดับ เจตคติในระดับปานกลาง ได้แก่ การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 50.8 และ 63.7 และมีการปฏิบัติตัวด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ อยู่ในระดับที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 75.0 62.9 และ 50.8 ตามลำดับ บุคลากรสายสนับสนุน ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 97.5 และไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 54.0 จากการอภิปรายกลุ่ม บุคลากรสายสนับสนุนเสนอแนวทางการจัดการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมไว้ 4 หัวข้อ คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ และการงดสูบบุหรี่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- พฤติกรรมการบริโภค ต้องการให้มีการแนะนำเมนูอาหารสุขภาพ การสาธิต และฝึกปฏิบัติทำเมนูอาหารสุขภาพ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และพลังงานที่ได้รับ ควรมีร้านอาหารสุขภาพ และเมนูอาหารสุขภาพที่หลากหลายขายในโรงอาหาร และควรมีการแนะนำช่องทางการหาข้อมูล เช่น การแนะนำ application เรื่องอาหารสุขภาพ บอร์ดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และมีการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล
- พฤติกรรมการออกกำลังกาย ควรได้รับสวัสดิการใช้ห้อง Fitness มีช่องทางการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย แนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบุคคลที่มีสุขภาพดี และผู้ที่มีโรคประจำตัว
- พฤติกรรมการจัดการอารมณ์ ให้มีการทดสอบสุขภาพจิตประจำทุกปี มีเวทีรับฟังข้อมูลความรู้สึก จากการปฏิบัติงาน และมีกิจกรรมที่หลากหลายช่วยลดความเครียดจากการทำงาน
- พฤติกรรมการงดสูบบุหรี่ มีการสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เช่น การเข้ารับบริการคลินิกเลิกบุหรี่ การแจกลูกอมลดความอยากบุหรี่
ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ คือ การจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพโดยมีกิจกรรมที่สอดคล้องตามความต้องการและบริบทของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากร อีกทั้งยังนำองค์กรสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ
References
Kaemkate W. (2008). Research methodology in behavioral sciences. (2nd ed). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Konkaew P., Suntayakorn C., Prachanban P., Wannapira W. (2011). Factors Predicting Health Promoting Behaviors Among Civil Servants With Dyslipidemia. Journal of Nursing and Health Sciences; 5(3): 17-28. (in Thai)
Institute for Population and Social research, Mahidol University. (2015). Thai Health Report 2015. (1st ed). Nakhon Pathom: Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd. (in Thai)
Lemsawasdikul W. (2018). Health Promotion in Educational Institute. Journal of Safety and Health; 11(2): 1-11 (in Thai)
Limprapaipong T, Tanglakmankhong K, Pisaipan P, Armmapat C, Hatkaew N, Suetrong S, et al. (2012). Health Risks to Chronic Illness and Health Behaviors among Staff of Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi. Journal of Phrapokklao Nursing College.; 23 (1): 27-37. (in Thai)
National Statistical Office. (2015) Important summary: Survey of mental health (Happiness) Thai people, August 2014. National Statistical Office: Bangkok. (in Thai)
Prateepchaikul L, Chailungka P, Jittanoon P. (2008). Health status and health promoting behaviors among staffs: a case study of Faculty of Nursing, Prince of Songkla University. Songkla Medical Journal; 26(2): 151-62. (in Thai)
Sota C, Phanthajarunithi N, Tonee S, Pansila V, Ratioral S, Rodjakpai Y, et al. (2007). The Internal Evaluation of Survey and Situation Assessment for Health Promotion in Public Health Education Institute, Thailand. Srinagarind Medical Journal; 22(1): 32-7. (in Thai)
Wittayapun Y., Wasuwithitkul S., Somboon S. (2012). Personal Factors, Health Status, and Health Promoting Behaviors among Staff of the HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. Journal of Public Health Nursing; 26(3): 16-30 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข