ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า ผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่ง ในจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การซื้อสินค้าออนไลน์, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าผ่านสื่อออนไลน์ ของสถาบันการศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา 395 คนจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติการทดสอบไคสแควร์ นำเสนอขนาดของความสัมพันธ์ด้วยค่า OR พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI) และระดับนัยสำคัญที่ .05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 17.84 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.58) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าผ่านสื่อออนไลน์ คือ เพศ (OR=1.93; 95%CI =1.08 to 3.49) อายุ (OR= 1.92; 95%CI = 1.21 to 3.04) ระดับการศึกษา (OR= 2.32; 95%CI =1.46 to 3.71) รายได้ (OR=3.12; 95%CI= 1.76 to 5.55) และความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง (OR= 1.69; 95%CI =1.13 to 2.52) ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมให้คำแนะนำเกี่ยวกับใช้เลือกผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น ได้มาตรฐานและใช้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อทางสื่อออนไลน์
References
Department of medical services. (2019). Dermatologist warning The dangers of white face.
Retrieved September 15, 2019 from https://www.thaihealth.or.th/Content/48759 (in Thai)
Electronic Transactions Development Agency. (2015). The survey of Internet users behavior Thailand and ETDA reveal shopper behavior Thailand Online Mega Sale 2015. Retrieved September 15, 2019 from https://www.etda.or.th/content/thailand-online-mega-sale-2015- statistics.html. (in Thai)
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University. (2015). The dangers of banned substances in cosmetics. Retrieved September 15, 2019 from
https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-2055-th
(in Thai)
Kumpeera, P. .(2014). Cosmetic Product Purchasing Behavior through Facebook of Female Students in Bangkok. Independent Study, Master of Communication Arts Bangkok University. (in Thai)
Mechamnay, T. (2018). Health products that have been validated according to standardized
criteria, Roi Et Province in Health Region 7. Retrieved September 15, 2019 from http://webcache.googleusercontent.com/ (in Thai)
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.
Tippayapornkul, P. (2016). Factors Effecting Customer Decission to by Cosmetic Online in Bangkok, A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree, Silpakorn University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข