รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ พันธ์รัศมี
  • เกียรติศักดิ์ แซ่อิว
  • นิติรัตน์ มีกาย ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • ไพจิตร พิลึก
  • คณิตา เพ็งสลุด

คำสำคัญ:

หลักสูตรแพทย์แผนไทยการแพทย์แผนไทยบัณฑิต, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดพิษณุโลก, ความยั่งยืน, การพัฒนาหลักสูตร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยไทยบัณฑิตที่เป็นไปตามความต้องการ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืนทำการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1) เป็นการประเมินหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง 2555) 2) ร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2561) และทำการวิพากษ์หลักสูตร 3) เป็นการประเมินผลระหว่างการใช้หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2561) และประเมินความเป็นไปได้ของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืน

            จากผลการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรควรประกอบด้วย 3 ระยะ 1) ประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหาจากหลักสูตรเดิม 2) ออกแบบร่างหลักสูตรปรับปรุงแก้ไขปัญหาจากหลักสูตรเดิมนำร่างหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์ประเมิน 3) นำหลักสูตรที่ได้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและทำการประเมินผลหลักสูตรเพื่อใช้ในการออกแบบหลักสูตรในครั้งต่อไปส่งผลให้หลักสูตรที่ออกแบบมีความเหมาะสมเป็นไปตามความต้องการและผลประเมินความเป็นไปได้ของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตสู่ความยั่งยืนผลประเมินอยู่หลักสูตรประเมินที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตามควรมีการประเมินผลการใช้หลักสูตรครั้งหลังจากมีบัณฑิตที่จบการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงผลการวิจัยที่สมบูรณ์

References

จิราพร หุนสูงเนิน.(2558).การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง.สืบค้น
เมื่อ 22 ธันวาคม 2562 ,จากเว็บไซต์https://sites.google.com/site/sawettaporn17/assignments/karphathnahlaksutrhisxdkhlxngkabsphaphsangkhmsersthkiclaeakarmeuxng
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558.(2558, 13 พฤศจิกายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 4.
ประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 - 2580 (2561,13 ตุลาคม).ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก
รัชนี จัทร์เกษ และคณะ(2559).สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย ปี2552,2554,2556.วารสารวิจัย
ระบบสาธารณสุข ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2559,หน้า113
วิลาวัลย์ กองสะดี. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารหัส52 คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2552. คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยราชพฤกษ์.
เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ.(2558).การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง.สืบค้น
เมื่อ 22 ธันวาคม 2562 ,จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/sawettaporn17/assignments/karphathnahlaksutrhisxdkhlxngkabsphaphsangkhmsersthkiclaeakarmeuxng
สนิท พาราษฎร์. (2559). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปริญญานพนธ์ กศ.ม.(หลักสูตรและการ
จัดการเรียนรู้). บุรีรัมย์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อัครพงศ์ สุขมาตย์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่4 ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. ปริญญานพนธ์ กศ.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Donald Dawley and Douglas Havelka. (2010). A Curriculum Development Process Model. Journal Of College Teaching And Learning. Volume 1, Number 2
Johnson, J. A. (2001).Curriculum revision that works. In principles of effective change. Retrieved March 10,2014
Taba, H. 1962. Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace
and World,p 454.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17