การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ในโรงพยาบาลยะลา

ผู้แต่ง

  • สุรีพร ศิริยะพันธุ์ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลยะลา
  • นิฮูดา ชายเกตุ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลยะลา
  • เนตรชนก สันตรัตติ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลยะลา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, การบำบัดทดแทนไต, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, การบำบัดทดแทนไต, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบและ 3) ประเมินผลการดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่1 ศึกษาสถานการณ์ โดยการประชุมกลุ่ม (focus group) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้ป่วย 2) ญาติ 3) ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวนทั้งหมด 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างที่ผ่านการทดสอบความตรงโดยวิธี Index  of  Item – Objective  Congruence (IOC) ได้ค่าความตรงระหว่าง 66 – 1.0 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยผู้วิจัยนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่1 พร้อมทั้งทบทวนวรรณกรรม และยกร่างรูปแบบผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้การบำบัดทดแทนไตแบบประคับประคอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 8 คน 2. ทีมพยาบาลผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบคามความพึงพอใจในการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วย, 2) แบบสอบคามความพึงพอใจในการเยี่ยมบ้านและ 3) ความคิดเห็นของทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้ค่าความตรง(IOC)ระหว่าง .67-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .742 .732 .802 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษาในครั้งนี้มีดังนี้

  1. สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้การบำบัดทดแทนไต แบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลยะลา พบปัญหาด้านการดูแล 2 ด้านคือ 1) ด้านผู้ป่วยพบว่า 1.1 ผู้ป่วยไม่กล้าฟอกไต และมีความเชื่อทางศาสนา 1.2 การเป็นภาระของครอบครัว 1.3 ต้องการรับการรักษาแบบประคับประคอง 2) ด้านทีมสหสาขาวิชาชีพ พบรูปแบบที่ควรพัฒนาคือ 2.1 การวางแผนการดูแลล่วงหน้า 2.2 เยี่ยมบ้านผู้ป่วย 2.3 การจัดการอาการไม่สุขสบาย 2.4 ควรมีการพัฒนาความรู้และลงนิเทศหน้างาน
  2. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้บำบัดทดแทนไต แบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลยะลา ประกอบด้วยการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่คัดกรองผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเป็นรูปแบบการดูแลจากโรงพยาบาลสู่บ้าน จนผู้ป่วยเสียชีวิต
  3. ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ป่วยและ/หรือผู้ดูแลหลักต่อการดูแลแบบประคับประคอง เฉลี่ยร้อยละ 88ความพึงพอใจต่อบริการการเยี่ยมบ้าน เฉลี่ยร้อยละ 91 ทีมผู้ให้บริการมีความเห็นต่อรูปแบบการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.45 ;SD= 0.57) และผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดได้แก่ อัตราของผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance care plan) ร้อยละ 100 อัตราของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องร้อยละ100 อัตราของผู้ป่วยที่ได้รับการจัดการอาการอย่างเหมาะสมร้อยละ100 ควรมีการขยายแนวปฏิบัติการพยาบาลสู่เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดยะลา และพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ เนื่องจากมีรูปแบบการดูแลและมีบริบทการดูแลเดียวกัน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่พัฒนาจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน และเป็นการดูแลต่อเนื่อง

References

Aroya Yensamer. (2017). Needs of anti-spiritual care and meeting the spiritual need for end-stage

renal failure patients undergoing hemodialysis. Master's Thesis in Nursing Faculty of Nursing Prince of

Songkhla University, Songkhla. (In Thai)

Damrong waeali. (2004). End-stage care. According to Islamic guidelines Yala: O.S. Printing House. (In

Thai)

Jintana Arjsanthia, and Jutamas Tilaphat, (2019). Effects of Palliative Nursing on Quality of Life of

End-stage Renal Failure Patients in the Community. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 20 (1), 226-235.

(In Thai)

Kittikorn Nilmanat, and Waraporn Kongsuwan. (2013). A common phenomenon in the end of life

and care. Songkhla: Joy Print Co., Ltd. (In Thai)

Liamputtong, P. (2009). “Qualitative data analysis: conceptual and practical considerations”, Health

Promotion Journal of Australia, 20(2), 133-9.

Meid Hemman, Kittikorn Nilmanit, and Yaowarat Matchim. (2017). Palliative care for end stage

chronic kidney patients: the experience of primary Muslim caregivers. Journal of Narathiwat

Ratchanakarin. 9 (1), 50-59. (In Thai)

Molzahn, A. E. (2009). Management of clients with renal disorder. In J.M. Black., J.H. Hawks (Eds.),

Medical-Surgical Nursing Clinical Management for Positive Outcome (8th, pp. 779-838). The United State

of America: Saunders.

Nephrology Society of Thailand. (2017). Recommendations for the care and treatment of palliative

chronic kidney disease. Bangkok: Text and Journal Publication Co., Ltd. (In Thai)

Pattranit Methipisit, Amphaporn Namwongprom, and Namooi Phakdiwong. (2018). Outcomes and

processes of palliative care in patients with metastatic cancer. Journal of Nursing Science and Health. 41

(1), 69-83. (In Thai)

Somsri Phaosawat, et al. (2013). Handbook of chronic renal failure patients receiving hemodialysis

and kidney transplantation. Bangkok: HealthWorks Co., Ltd. (In Thai)

Sriwiang Phairojkul. (2017). Training of the trainer in palliative care: Module5 Communication in

palliative care. Khon Kaen: LP changnanavitaya. (In Thai)

Sriwiang Phairojkul, and Napalimrat. (2017). Training of the trainer in palliative care: Module 8

Ethical Issues in End-of-life care. Khon Kaen: LP changnanavitaya. (In Thai)

Strategy and Planning Division Ministry of Public Health. (2018). Public Health Statistics 2018.

Nonthaburi: Health Information Group. (In Thai)

Thitima Phosri. (2013). Palliative care for terminally ill patients: from hospital to home.

Independent study report for Master of Nursing Science. Khon Kaen University, Khon Kaen.

(In Thai)

Wasana Sawasdeenaruenat, Amonphan Thanierat, and Thanthip Wisettharn. (2015). Development

of a palliative care model for patients with advanced cancer. Maharaj Hospital, Nakhon Si

Thammarat. Journal of Nursing, Ministry of Public Health. 25 (1), 144-156. (In Thai)

World Health Organization [WHO]. (2017). Palliative care: Cancer control: Knowledge into action.

WHO Guide for Effective Programmers. Retrieved 15 January 2019 from.

http://www.who.int/cancer/publications/cancer_control_palliative/ en/index. html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-08