การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต ของผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • นิวัติ ไชยแสง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • อุบลทิพย์ ไชยแสง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

แนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิต, สุขภาวะทางจิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา วิธีดำเนินการประกอบด้วย  3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาลักษณะการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต และระยะที่ 3 การตรวจสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสม ของแนวทางพัฒนาการดำเนินชีวิต ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุจำนวน 10 คน  2) บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 10 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  แบบเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าลักษณะการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เน้นการมีความภาคภูมิใจ และรู้สึกทางบวกกับชีวิตในอดีตของตนเอง  และแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ การส่งเสริมการดำเนินชีวิตด้วยกิจกรรมที่คำนึงถึงบริบทต่าง ๆ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่ดี มีการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต  และการดำเนินกิจกรรมระลึกอดีต เป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมการยอมรับตนเอง เพิ่มการยอมรับชีวิตตนเองมีความหมาย ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ควรเน้นกิจกรรมด้านนันทนาการ เพื่อผ่อนคลายความเครียด และสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ และประยุกต์ใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

Chaisang, U., Chaisang, N. & Marano, L. (2020). Psychological Well-being and Perspectives on Mental Health Promoting Lifestyle among Elderly in the Center for Quality of Life Development, Yala City Municipality, Yala Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 7(1), 306-318. (in Thai)

Community Health Center Yala Municipality. (2019). Annual Report 2019. Yala. (in Thai)

Duangduen, Y. (2019). Nurses and Promotion to Reminiscence in Older Adults. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 8 (24), 89 – 106. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (2016). Situation of the Thai Elderly 2015, Bangkok: Amarin Printing & Plub Leasing. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2012). Annual report Situation of the Thai Elderly 2010. Bangkok: TQP. (in Thai)

National Committee on Aging, Ministry of Social Development and Human Security. (2010). National Elderly Plan National Issue, 2(2002-2021) 1st Edition, 2009. Bangkok: Theppenwanis Printing. (in Thai)

Metheekul, P. (2011). Successful aging experience of thai older adults with high psychological well-being : a consensual qualitative research. Graduate School of Psychology Counseling.Chulalongkorn University, Bangkok (in Thai)

Prasertsin, U., Suriyo, T., Nutmatawin, P. (2018). Well-Being of Elderly People: The Various Concepts and Factors Involved. Journal of Health Education. 41 (1), 1-15. (in Thai)

Psychiatric Association of Thailand. (2014) Suffering will be smaller with our hearts. Retrieved On January 12, from https://www.facebook.com/ThaiPsychiatric Association. (in Thai)

Ryff, C.D. (2014). Psychological Well-Being Revisited: Advances in the Science and Practice of Eudaimonia. PsychtherPsychosom. 83 (1), 10-28.

Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995) .The structureof psychological well-being Revisited. Journal of Personality and Social Psychology. 69 (4), 719-727.

Ryff, Carol D. (1989). Happiness is everything, or is it? Exploration on Meaning of Psychological Well-Being. Journal of Personality and Social Psychology. 57 (6), 1069 – 1081.

Sapprawong, K. (2012). Mental Health in Thai Elderly.BU Academic Review, 11 (2), 99 -110.(in Thai)

Semamon, W. (2014). Study format recreational elderly Ayutthaya and Angthong. Ayutthaya : Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)

Thongdee, J., Rongmuang, D. & Nakchattree, C. (2012).Health status and quality of life in the elderly in the southern border provinces. Journal of Nursing, Ministry of Public Health, 22 (3), 88 - 99.(in Thai)

Wongpanarak, N. (2013). Promoting Psychological Well-being in the elderly society. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-19