นโยบายสาธารณะ : การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนบท บัวหลวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, อาหารริมบาทวิถี, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของอาหารริมบาทวิถีและพัฒนารูปแบบเชิงนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการอาหารริมบาทวิถีจังหวัดลพบุรี  ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของอาหารริมบาทวิถี โดยใช้รูปแบบการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 350 คนประกอบด้วย นายกเทศบาลเมือง ประธานชมรมผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี ผู้ประกอบการอาหาร    ริมบาทวิถี เจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้บริโภค เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และชุดทดสอบน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนานโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการอาหารริมบาทวิถีจังหวัดลพบุรี เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จํานวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม  โดยมีการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน สร้างการรับรู้ สถานการณ์ปัญหา กระตุ้นชุมชนให้เกิดความตื่นตัวเพื่อพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ

       ผลการวิจัยที่สำคัญมี 2 ประการ ดังนี้ (1) สภาพปัจจุบันอาหารริมบาทวิถีจังหวัดลพบุรี พบว่าส่วนใหญ่ผู้ประกอบการไม่ได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารจากภาครัฐ รวมทั้งการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนยังไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาร้านอาหารริมบาทวิถี (2) พัฒนานโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการอาหารริมบาทวิถีจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านสุขภาพโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นจุดศูนย์กลาง จัดแผนพัฒนา จัดตั้งกลุ่มของผู้ประกอบการ จัดบริการและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนปรับปรุงเทศบัญญัติ  2) มิติด้านเศรษฐกิจ มีคณะทำงานแบบบูรณาการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) มิติด้านสังคมมีจุดบริการข้อมูล และระบบรักษาความปลอดภัย 4) มิติด้านวัฒนธรรม มีการจำหน่ายอาหารพื้นบ้านและการแต่งกายประจำถิ่น และได้นำนโยบายสาธารณะสู่การปฎิบัติ ประกอบด้วย 7 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการที่ชมรมผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง 3 โครงการ และ 2)โครงการที่หน่วยงานและองค์กรในพื้นที่ร่วมกันดำเนินงานจำนวน 4 โครงการโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยจังหวัดลพบุรีปี 2563

References

Cuthill, M., & Fien, J. (2005). Capacity building: Facilitating citizen participation in local

governance. Australian Journal of Public Administration, 64(4), 63–80.

Denzin, N. K. (1988). The Research Act. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall.

Department of Health.(2019).The Summary report of the surveillance and food sanitation. Bangkok:War Veterans organization printing house.

Department of Health.(2020). Street food Good Health.Food and Water Sanitation Journal,Vol 10 No.2,3-4.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy (7th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Getzels, Jacob W. & Guba, Egon G. (1989). Social behavior and the administrative process. School Review.

Jaesakul, S. (2005). Environmental health situation in Thailand BE 2005-2007.Bangkok:War Veterans

Organization Printing House.

Lofland, J. & Lofland, L. H. (1995). Analyzing Social Settings: A Guide to Qualitative Observation and Analysis. Belmont, CA: Wadsworth.

Lopburi Provincial Health Office.(2017).The Summary report of operating results aaccording to KPI in Ministry of Public Health.

Lucca & Torres.(2004). Food safety and hygiene practices of vendors during the chain of street food production in Florianopolis, Brazil: A cross-sectional study.Food Control 62,178–186.

Maclaghlin, Milbrey W. (1978). Learning from experience: lesson from policy implementation.

Education and Policy analysis, 9(2),171-178.

Ramasut, P. (2002). Participatory Action Research. Bangkok: P.A. Living.

Wirakartakusumah, Purnomo, & Dewanti Hariyadi.( 2014).Safety of Street Food:Indonesia's

Experience.Bogor Agricultural University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-06