การพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาอาการปวดเข่าสำหรับผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ทองธรรมชาติ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรุณี ยันตรปกรณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พอกเข่า, แผ่นแปะไฮโดรเจลสมุนไพร, อาการปวดเข่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาการบรรเทาอาการปวดเข่าของผู้รับบริการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นแปะสมุนไพรไฮโดรเจลสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเข่าสำหรับผู้รับบริการ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบรรเทาอาการปวดเข่าและความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเข่า กลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการที่มีอาการปวดเข่าระดับปฐมภูมิในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบางแม่นาง  จังหวัดนนทบุรี จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ยาพอกเข่าจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะไฮโดรเจลสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเข่า จำนวน 30 คน ใช้แบบประเมินอาการปวดเข่า (Western Ontario and MacMaster University,WOMAC) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์  วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Independent Sample t-Test และความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired Sample t-Test

            ผลการวิจัยพบว่า  การบรรเทาอาการปวดเข่าส่วนใหญ่มักใช้การนวดรักษา การประคบด้วยลูกประคบ การใช้ยาพอกเข่า พบปัญหาเรื่องความไม่สะดวกของการใช้งานและความเลอะเทอะ  จึงมีการพัฒนายาพอกเข่าในรูปแบบแผ่นแปะไฮโดรเจลสมุนไพรซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วย ผลการเปรียบเทียบระดับอาการปวดเข่าและองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่าระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการใช้ผลิตภัณฑ์  พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจหลังการใช้ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเข่าระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยภาพรวม  พบว่า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

References

Thai traditional medicine, folk medicine and alternative medicine in the 3 rd Health Area. (2018). Thai Traditional Medicine Practice Guidelines. Retrieved 1, 2020, from http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181018140227.pdf. (in Thai)

Kaenkua Navabunniyom. (2017). Effect of cold herbal paste on knee pain among elderly people in Don Tan Municipality, Don Tan District, Mukdahan Province. (Thesis Master of Public Health). Surin: Surin Rajabhat University. (in Thai)

National Committee on Medicine. (2006). List of Medicinal Herbs 2006. Bangkok: Printing house.Jetsada Udompittayasan, Winai Sowan, Warayut Katawong, Natsuda Kaewwises, and Isara Siramaneerat. (2019). A Comparative Study on the Effectiveness of Knee Wraps with a Knee Poultice Formula. No. 1 with knee mask formula 2 on knee pain and knee mobility in patients with osteoarthritis of Bang Yai Hospital, Bang Yai District, Nonthaburi Province. University Journal Narathiwat Ratchanakarin, 11(1), 64-72. (in Thai)

Daranee Onchomchan. (2011). Propose the use of Thai wisdom. Alternative treatment for osteoarthritis of the knee by reducing drug dependence: village doctor, 2011 (384), 384-006. (in Thai)

Thuen Buatum, Somrutai Jitphakdeebodin and Amrawadee Zhangwang. (2006). Development study of cosmetic dermal patch from pectin. Songkhla:Prince of Songkla University. (in Thai)

Nongphimon Nimitanan. (2014). Epidemiological situation and risk assessment of osteoarthritis in Thai people. Journal of Army Nursing, 15 (3), 185-194. (in Thai)

Paweena Tanglertwitcha. (2012). Development of a temperature-changing skin patch for relief of bruises. (Doctor of Fine Arts Thesis). Bangkok:Chulalongkorn University.

Mithila Panchan and Kewelin Ritmontri. (2018). Development of a knee mask in the form of a patch for osteoarthritis patients receiving services. The 17th Patriarch Hospital.

Song Phi Nong District Suphanburi Province. Bachelor's degree in Thai Traditional Medicine. Nonthaburi: College of Medical Technology and Public Health Kanchanaphisek. (in Thai)

Wirot Kawinwongkowit. (2015). Osteoarthritis of the knee. Retrieved June 1, 2020, from https://www. rama.mahidol.ac.th/atrama/issue021/health-station. (in Thai)

Wilawan Sairojrung. (2010). Research items on Effects of hot and cold compresses on pain relief during labor. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Suphanit Jungyampin. (2017). Development of gelatin mixed with shellac for use as transdermal galic acid patch. (Master of Engineering Thesis). Bangkok: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

The Royal College of Orthopedic Surgeons of Thailand. (2010).WOMACVA 3.01 Index for Thailand. copyright©2006 Nicholas Bellamy.All Reserved. Accessible from http://www.rcostregistration-master.com/rost_conten.php?slug=announce

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12