ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
ภาวะครรภ์เสี่ยง, สาเหตุการเสียชีวิต, การรับรู้ภาวะเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลยะรัง โรงพยาบาลยะหริ่ง โรงพยาบาลหนองจิก โรงพยาบาลโคกโพธิ์ โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จำนวนทั้งหมด 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ การทดสอบความสัมพันธ์รายคู่โดยใช้ไคสแควร์ (Chi-squared test) และสร้างตัวแบบโดยใช้สมการ การถดถอยโลจิสติกพหุคูณ (Multiple Logistic Regression)
ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่ทราบถึงภาวะเสี่ยงของตนเอง ร้อยละ 52.38 และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่ไม่ทราบถึงภาวะเสี่ยงของตนเองร้อยละ 47.62 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุคูณ (Multiple Logistic Regression) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดปัตตานี ได้แก่ กลุ่มอายุของมารดา และจำนวนครั้งการตั้งครรภ์ โดยพบว่า กลุ่มมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่จะมีการรับรู้ภาวะเสี่ยงของตนเองได้มากกว่ากลุ่มมารดาที่มีอายุน้อยกว่า และมารดาที่มีจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป มีโอกาสที่จะรับรู้ภาวะเสี่ยงสูงกว่ามารดาที่มีจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์น้อยกว่า ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข