ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจุปอดและอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ของคนงานก่อสร้างแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บุษยา จูงาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กชวรรณ เตาสูงเนิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศรินธร จันทร์เชื้อ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความจุปอด, อาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ, คนงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจุปอดและอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของคนงานก่อสร้างแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ คนงานก่อสร้าง จำนวน 48 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างแบบง่าย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงาน และข้อมูลการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวัดความจุปอดของคนงานก่อสร้างด้วยเครื่องวัดความจุปอดแบบพกพา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) การทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher’s Exact test) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษา พบว่า เพศ    (P-value = 0.005)  ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (P-value=0.031) การอบรมให้ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (P-value=0.030) มีความสัมพันธ์กับความจุปอดของคนงานก่อสร้าง และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ในทางลบในขนาดปานกลางกับความจุปอดของคนงานก่อสร้าง (r = -0.375, P-value = 0.009) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Pollution Control Department. (2020). Particulate matter size is not more than 10 microns (PM10). Retrieved 3 July 2020, from http://aqmthai.com/aqi_info.php

Faculty of Public Health Mahidol University. (2014). Respiratory Mechanism. Retrieved 10 July 2020, fromhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0000/0000020. PDF

Pannipa Suebsuk. (2014). Predicting factors of lung function among motorcycle taxi drivers in the Bangkok metropolitan area. Retrieved 20 July 2020, from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/51191/42407

Samma Vocational Foundation. (2018). Guidelines for examination and interpretation of pulmonary function by spirometry in occupational health. Retrieved January 22, 2021, from http://safetyhubs.com/wp-content/uploads/2018/11/book_spirometry.pdf

Yanyong Arpa-anan. (2010). Study of guidelines for reducing the amount of dust that affects workers in construction units. Chulalongkorn University. Retrieved 10 July 2020, from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17800

Bumrungrad Hospital Bangkok. (2020). Pulmonary and Respiratory Disease Center. Retrieved January 2, 2021, from https://www.bumrungrad.com/th/centers/pulmonary-lung-center-bangkok-thailand

Siriorn Sindhu, Umaporn Kamlungdee, Roumporn Konggumnerd. (2011). Effect of Smoke Exposure on Lung Function among Adults in Communities. Nursing Council Journal Mahidol University. 26, 93-106, Retrieved January 15, 2021, from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2728/2429

The Urological Society of Thailand. (2008). Guidelines for spirometry of pulmonary function. Retrieved July 26, 2020., from https://www.thoracicsocietythai.org/

Sarayut Mongkol. (2013). The effect of exercise with dance game on respiratory muscle strength in obese female. National Academic Conference, Kasetsart University. Kamphaeng Saen Campus. 1, 1485- 1492, Retrieved January 15, 2021, from https://www.lib.ku.ac.th/KU/2561/KRKPS000S0000206c1.pdf

National Statistical Office. (2016). The population of Bangkok. Retrieved 2 July 2020, from http://www.mso.go.th/sites/2014/Pages/FAQs/static.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15