การเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุของข้าราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลอุทัยธานี

คำสำคัญ:

สังคมสูงวัย, ข้าราชการทางการสาธารณสุข, การเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุของข้าราชการสาธารณสุข จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือข้าราชการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดอุทัยธานี อายุระหว่าง 45 – 59 ปี จำนวน 274 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการศึกษาสถานการณ์การเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตวัยสูงอายุของบุคลากรด้านสาธารณสุขในระบบราชการ ซึ่งได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และนำแบบสอบถามไปทดลองใช้เพื่อหาความสามารถในการใช้แบบสอบถาม และหาความเชื่อมั่นของระดับการยอมรับความชราภาพได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค = .97 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุ โดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนแรงค์ และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 81.02 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 58.39 อายุเฉลี่ย 51.68 ปี ตำแหน่งพยาบาลร้อยละ 45.99 รายได้เฉลี่ย 40,049.65 บาท มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 1,065,052 บาท มีโรคประจำตัว ร้อยละ 64.23 คะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.20  ผลการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจพบว่ามีเงินออม ร้อยละ 45.99 มีการการลงทุนในรูปแบบการเสี่ยงโชคได้แก่ การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวย ร้อยละ 37.69 มีการเตรียมความพร้อมผู้ดูแล ร้อยละ 62.06  การเตรียมใจยอมรับความชราภาพอยู่ในระดับยอมรับได้ดี ร้อยละ 60.58 การเตรียมความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อความกว้างของประตู ร้อยละ 87.96 และให้ความสำคัญต่อการจัดทำ/เตรียมทำทางลาดสำหรับรถเข็น น้อยที่สุด ร้อยละ 60.58 ความพร้อมด้านสังคมพบว่า ร้อยละ 32.21 ยังไม่คิดวางแผน หรือไม่ได้วางแผน

 ในส่วนความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตวัยสูงอายุ พบว่า อายุ ระดับตำแหน่ง เพศ มีความสัมพันธ์กับการลงทุนที่ระดับ p-value 0.008 0.031และ 0.016 ตามลำดับ  เพศ สถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมผู้ดูแลที่ระดับ p-value 0.011 และ 0.029 ตามลำดับ อายุ รายได้ ระดับตำแหน่ง และเพศ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความชราภาพ ที่ระดับ p-value 0.001 <0.001  0.004 และ <0.001 ตามลำดับ รายได้ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมสภาพแวดล้อมที่ระดับ p-value 0.026 สถานภาพสมรส ระดับตำแหน่ง รายได้ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านสังคมที่ระดับ p-value 0.006 <0.001 และ <0.001 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรสร้างความตระหนักและช่วยเหลือให้ข้าราชการมีการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านรายได้ ซึ่งควรเตรียมการตั้งแต่เข้าสู่ระบบราชการ โดยเฉพาะการให้ความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการออมในระยะยาวเพิ่มมากขึ้น

References

Atichatnan, T. and Mangkala, P. (2011). Financial Planning for Pre-Retirement of Employees in

Provincial Elrctricity Authority. Retrieved Oct 10, 2019 from https://www.mis.ms.su.ac.th/ MISMS02/PDF01//2554/GB/2.pdf. (in Thai)

Boonrodchu, D. (1997) Factors affecting retirement preparation of the government officials :

a case study of the Ministry of Public Health, (Master’s thesis, Social Development

Management, Master of Arts). Bangkok: National Institute of Development Administration.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Situation of

the Thai Elderly 2016. (2016). Retrieved Oct 7, 2017 from http://thaitgri.org/?p=38427.

(in Thai)

Janeoob-rom, S. (1998). Vision of the elderly and non-formal education for the Thai elderly.

Bangkok: Nichin Advertising Group.

Kammanee, R.(2012). Self-Care Behavior of Health Personnel in Sukhirin District Narathiwat

Province.(Master of Art in Social Policy and Planning).Thaksin University. Retrieved Oct 10,

from http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2817/1/.pdf. (in Thai)

Muangthai, P. (1998). Factor related to plans for elderly single female government officials

employed in central administration, ministry of public health, (Master’s thesis, Population

Education Graduate School). Bangkok: Mahidol University.

National Statistical Office. (2017). Number of Health Personnel by Region and Province 2014–

Retrieved Oct 7, 2017 from http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/

Th/05.aspx. (in Thai)

Piamsomboon P.(1986) Evaluation Research :principle and Process. Bangkok Printing.

Rattana-umpa, N. (1997). Preretirement preparation of professional nurses, hospitals. Regional

Medical centers of the Ministry of Public Health (Master’s thesis, Nursing Education).

Bangkok: Chulalongkorn University.

Santhitiwanich, A. (2015). Thai Government officials’ Golden Age. Retrieved Oct 7, 2017 from

https://prachatai.com/journal/2015/10/61744. (in Thai)

Seerung, W, Numkham,L and Rakkapao,N. (2019). Health Promotion Management Program,

Faculty of Public Health. Thammasat University Lampang Centre. Retrieved Aug 12, 2020

from file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/186193-Article%20Text-851796-3-10-20200930.pdf.

(in Thai)

Strategy and Planning Division Ministry of Public Health. Information report of Health Personnel,

ministry of Public Health. (2018). Retrieved Dec 7, 2018 from http://bps.moph.go.th/

new_bps/sites/default/files/HR-Report-2561-up130164.pdf. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22