สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
คำสำคัญ:
สมรรถนะการพยาบาลผู้สูงอายุ, นักศึกษาพยาบาล, วิจัยแบบผสมวิธีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธีพื้นฐาน (basic mixed methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ และกลวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษากลวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ นายกสโมสรนักศึกษาและกรรมการสโมสรนักศึกษา ประธานนักศึกษาแต่ละชั้นปี และอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.71, σ= 0.65)
- กลวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย ด้านนโยบายเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบาย 2) การพัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะและความเชี่ยวชาญ 3) การจัดสรรทรัพยากรเทคโนโลยีและสิ่งสนับสนุนต่างๆ 4) การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของวิทยาลัย 5) การจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม และด้านกระบวนการเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) การออกแบบและวางแผนการเรียนการสอน 2) การส่งเสริมการเรียนรู้ 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร 4) การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลที่ดีขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนการสอน
ดังนั้นควรกำหนดให้การพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุเป็นนโยบายของ วิทยาลัยฯ และควรมีการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการทำวิจัยและการประเมิน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติจากการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลได้มีสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพต่อไป
References
Bernadette, M.M., Lynn, G.F., Lisa, E.L., & Ellen, F.O. (2014). The Establishment of Evidence-
Based Practice Competencies for Practicing Registered Nurses and Advanced Practice
Nurses in Real-World Clinical Settings: Proficiencies to Improve Healthcare Quality,
Reliability, Patient Outcomes, and Costs. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 11(1):
–15.
Boromarajonani College of Nursing Trang. (2017). Annual Report 2018. Trang. (in Thai)
Crabtree, B.F., & Miller, W.L. (1992). Doing qualitative research. London: SAGE.
Eliopoulos, C. (2014). Gerontological Nursing. 8 th ed. Philadelphi: Wolters Kluwer/ Lippincott
Williams & Wilkins.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the
Thai Elderly 2017. Deuan Tula Printing House. Bangkok. (in Thai)
Hoy, K., & Miskel, G. (2013). Educational administration. New York: RR Donnelly & Sons.
Linton, A. D. (2012). Introduction Medical-Surgical Nursing. 5th ed. Missouri: Saunder.
Nawsuwan, K., Singhasem, P., Kumkong, M., & Singweratham, N. (2017). Strategies to Develop
the Gerontological Nursing Competencies in Nursing Students. EAU Heritage Journal
Science and Technology. 11(3), 207-218.
Nawsuwan, K., Singhasem, P., & Naksrisang, W. (2017). Essential Competencies of Registered
Nurses for the Care of the Elderly in an Aging Society. Nursing Journal of the Ministry of
Public Health, 27(1):1-11. (in Thai)
Nawsuwan, K., Chotibun, P., & Singsri, T. (2016). Journal of Multidisciplinary in Social SCIENCES, SDU research
journal humanities and social science, 12(3): 148-163. (in Thai)
Nawsuwan, K., & Chotibun, P. (2017). Interactions of Experience in Elderly Club Activity Participation, Experience
in Caring for the Elderly, Living with the Elderly with Geriatric Competencies of Nursing Students,
Boromarajonani Colledge of Nursing, Songkhla. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities
and Social Sciences, 4(2): 59-68. (in Thai)
Office of the National Economics and Social Development Board. (2011). National social and
economic development plan no.11. (2012-2016). Bangkok: Prime Minister’s Office.
(in Thai)
Poomsanguan, K. (2014). Health Empowerment: Nurses’ Important Role. Journal of The Royal Thai Army Nurses,
(3): 86-90. (in Thai)
Royal Academy. (2011). National Assembly Library of Thailand. Bangkok: Siriwattanainterprint.
Royal Thai Government Gazette. (2003). The Act on the Elderly B.E.2003. Department of Older
Persons Ministry of Social Development and Human Security. Retrieved 12, 2019 from
http://www.dop.go.th/download/laws/ regulation_th_20152509163042_1.pdf. (in Thai)
Singhasem, P., Nawsuwan, K., Suwanrag, M., & Jamtim, N. (2016). Developing Indicators of
Gerontological Nursing Competencies among Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing,
Songkhla. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3): 15-34. (in Thai)
Trang Provincial Office Social Development and Human Security. (2017). Data Aging in Trang.
Retrieved 7, 2018 from http://trang.nso.go.th/images/Older/analysis-Older-61.pdf.
(in Thai)
United Nation. (2015). World Population Ageing 2013. New York: United Nations Department of
Economic and Social Affairs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข