การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นด้านองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรที่ใช้แทนกันระหว่างโกษฐ์เชียงและไพล ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ แก้วต่าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • วศิน บำรุงชัยชนะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

โกษฐ์เชียง, ไพล, สมุนไพรใช้แทนกัน, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, เอนไซม์ไลปอกซี่จีเนส

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย กำหนดตัวยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน สามารถใช้แทนกันได้ โกษฐ์เชียงระบุให้ใช้ไพลทดแทน เนื่องจากโกษฐ์เชียงเป็นสมุนไพรที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านการอักเสบ ระหว่างโกษฐ์เชียงและไพล โดยศึกษาองค์ประกอบทางเคมีด้วยวิธีทินเลเยอร์โครมาโตกราฟีแผ่นบาง และศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการยับยั้งเอนไซม์ไลปอกซี่จีเนส  ผลการศึกษาพบว่า 1) ไพลกับโกษฐ์เชียงที่สกัดด้วยเมทานอล มีค่าอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับตรงกันที่ตำแหน่ง 0.34,และ 0.42สารที่สกัดด้วยเอทธิลอะซิเตท มีค่าอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับตรงกันที่ตำแหน่ง 0.64,0.68 และ 0.77 และสารที่สกัดด้วยเอ็น-เฮกเซน  มีค่าอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับตรงกันที่ตำแหน่ง 0.22, 0.30 และ 0.60 2) สารสกัดโกษฐ์เชียงและไพล ที่สกัดด้วยเมทานอล  เอทธิลอะซิเตทและเอ็น-เฮกเซน  ความเข้มข้น  0.1mg/ml และ 1mg/ml  มีฤทธิ์ต้านการอักเสบไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาโกษฐ์เชียงและไพลมีองค์ประกอบทางเคมีบางองค์ประกอบในกลุ่มเดียวกันและฤทธิ์ต้านการอักเสบไม่แตกต่างกัน อาจมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ทดแทนกัน แต่จำเป็นต้องศึกษาทางการวิจัยเชิงคลินิกเพิ่มเติม

References

Chen XP, Li W, Xiao XF, Zhang LL, Liu CX. (2013) .Phytochemical and pharmacological studies on Radix Angelica sinensis. Chin J Nat Med,11(6): 577-587.

Department of Development of Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine .(2009) Monographs of selected Thai Materia Medica volume 1. Bangkok:Amarin Printing & Publishing. (In Thai).

Department of Development of Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine .(2015)

Monographs of selected Thai Materia Medica volume 2.Bangkok:Amarin Printing & Publishing. (In Thai).

Disthaporn,O.(2008).Development of Chinese medicinal plants in Thailand [Online].Retrieved July30,2020,from http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb/7_epigraph%20at%202%20Pharmacopoeia.pdf.(in Thai).

Kongkum C., Kongkum A.( 2016). Comparison of chemical composition of Angelica sinensis( Oliv. ) Diels. and Zingiber cassumunar Roxb.,a substitute herb according to Thai Traditional Medicine. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 36 (3):360-367. (In Thai).

Limmuthawapirath, C.,Meenabun,N. (2010).Tang kui:Chainese herb for health.Pharmatime, 8 (81):41-49. (In Thai).

Lu W, Zhao X, Xu Z, Dong N, Zou S, Shen X, Huang J. (2013). Development of a new colorimetric assay for lipoxygenase activity. Anal Biochem,441(2):162-8.

Restoration and Promotion of Thai Traditional Medicine Foundation.(2005). Thai Traditional Pharmacy Textbook.Bankok:Phikhnes Printing Center. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17